mungmee-pradee.com=>
พระรูปหล่อ รูปเหมือนปั๊มเกจิ
| |||||||||
พระรูปหล่อ รูปเหมือนปั๊มเกจิ
รูปเหมือนปั้มครึ่งซีกหลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล วัดปริวาสราชสงคราม จ.กรุงเทพฯ ปี 2543 เนื้อทองแดงครับ องค์ที่ 4
รูปเหมือนปั้มครึ่งซีกหลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล วัดปริวาสราชสงคราม จ.กรุงเทพฯ ปี 2543 เนื้อทองแดงครับ องค์ที่ 4 รายละเอียดรูปเหมือนปั้มครึ่งซีกหลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล วัดปริวาสราชสงคราม เขตยานนาวา กรุงเทพฯ จัดสร้างโดยบุญนิธิหลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาสฯ เมื่อปี พ.ศ. 2543 เนื้อทองแดงครับ โดยขนาดความกว้างฐาน 1.9 ซ.ม. ความสูง 2.8 ซ.ม. สนใจคุยกันได้ที่ Line ID : suriyun07ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2024-09-07 16:01:05
รูปเหมือนปั้มครึ่งซีกหลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล วัดปริวาสราชสงคราม จ.กรุงเทพฯ ปี 2543 เนื้อทองแดงครับ องค์ที่ 3
รูปเหมือนปั้มครึ่งซีกหลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล วัดปริวาสราชสงคราม จ.กรุงเทพฯ ปี 2543 เนื้อทองแดงครับ องค์ที่ 3 รายละเอียดรูปเหมือนปั้มครึ่งซีกหลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล วัดปริวาสราชสงคราม เขตยานนาวา กรุงเทพฯ จัดสร้างโดยบุญนิธิหลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาสฯ เมื่อปี พ.ศ. 2543 เนื้อทองแดงครับ โดยขนาดความกว้างฐาน 1.9 ซ.ม. ความสูง 2.8 ซ.ม. สนใจคุยกันได้ที่ Line ID : suriyun07ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2024-09-07 15:59:22
รูปเหมือนปั้มครึ่งซีกหลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล วัดปริวาสราชสงคราม จ.กรุงเทพฯ ปี 2543 เนื้อทองแดงครับ องค์ที่ 2
รูปเหมือนปั้มครึ่งซีกหลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล วัดปริวาสราชสงคราม จ.กรุงเทพฯ ปี 2543 เนื้อทองแดงครับ องค์ที่ 2 รายละเอียดรูปเหมือนปั้มครึ่งซีกหลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล วัดปริวาสราชสงคราม เขตยานนาวา กรุงเทพฯ จัดสร้างโดยบุญนิธิหลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาสฯ เมื่อปี พ.ศ. 2543 เนื้อทองแดงครับ โดยขนาดความกว้างฐาน 1.9 ซ.ม. ความสูง 2.8 ซ.ม. สนใจคุยกันได้ที่ Line ID : suriyun07ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2024-09-07 15:55:50
รูปเหมือนปั้มครึ่งซีกหลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล วัดปริวาสราชสงคราม จ.กรุงเทพฯ ปี 2543 เนื้อทองแดงครับ องค์ที่ 1
รูปเหมือนปั้มครึ่งซีกหลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล วัดปริวาสราชสงคราม จ.กรุงเทพฯ ปี 2543 เนื้อทองแดงครับ องค์ที่ 1 รายละเอียดรูปเหมือนปั้มครึ่งซีกหลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล วัดปริวาสราชสงคราม เขตยานนาวา กรุงเทพฯ จัดสร้างโดยบุญนิธิหลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาสฯ เมื่อปี พ.ศ. 2543 เนื้อทองแดงครับ โดยขนาดความกว้างฐาน 1.9 ซ.ม. ความสูง 2.8 ซ.ม. สนใจคุยกันได้ที่ Line ID : suriyun07ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2024-09-07 15:53:36
รูปหล่อหลวงพ่อเรียน พุฒญาโณ วัดตำหรุ จ.เพชรบุรี เนื้อทองแดงไม่ทราบปีที่สร้างครับ
รูปหล่อหลวงพ่อเรียน พุฒญาโณ วัดตำหรุ จ.เพชรบุรี เนื้อทองแดงไม่ทราบปีที่สร้างครับ รายละเอียดรูปหล่อหลวงพ่อเรียน พุฒญาโณ (พระครูวิบูลญาณประยุต) วัดตำหรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี เนื้อทองแดงไม่ทราบปีที่สร้างครับ โดยฐานรูปหล่อกว้าง 1.3 ซ.ม. ความสูงของรูปหล่อ 2.2 ซม. ครับ สนใจคุยกันได้ที่ Line ID : suriyun07ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2024-01-08 10:08:19
รูปหล่อหลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ รุ่นบูชาครู ปี 2536 วัดบางพระ จ.นครปฐม เนื้อทองระฆัง ใต้ฐานจารครับ
รูปหล่อหลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ รุ่นบูชาครู ปี 2536 วัดบางพระ จ.นครปฐม เนื้อทองระฆัง ใต้ฐานจารครับ รายละเอียดรูปหล่อหลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ (พระอุดมประชานาถ) รุ่นบูชาครู ปี พ.ศ. 2536 วัดบางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เนื้อทองระฆัง ใต้ฐานจารอักขระ โดยฐานองค์พระมีความกว้าง 1.1 ซ.ม. ความสูงขององค์พระ 1.5 ซ.ม. สนใจคุยกันได้ที่ Line ID : suriyun07ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2023-04-29 10:43:14
รูปหล่อหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี รุ่นฉลองอายุ 80 ปี ปี 2530 ตอกโค๊ต สภาพสวย องค์ที่ 2
รูปหล่อหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี รุ่นฉลองอายุ 80 ปี ปี 2530 ตอกโค๊ต สภาพสวย องค์ที่ 2 รายละเอียดรูปเหมือนรุ่นนี้เป็นรุ่นสุดท้าย หลวงพ่อปลุกเสกเดี่ยวให้ก่อนมรณภาพ ในต้นปี พ.ศ. 2530 รูปหล่อหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี รุ่น 80 ปี นั่งถือประคำ ใต้ฐานตอกโค๊ตนะมหาเศรษฐี ขนาดความกว้างฐาน 1.3 ซม. สูง 2.3 ซม.ประวัติ หลว งพ่อเนื่อง โกวิโท (พระครูโกวิทสมุทรคุณ) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม ตามประวัติโดยสังเขป หลวงพ่อเนื่อง ชื่อเดิม เนื่อง เถาสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2452 ปีระกา เป็นบุตร นายถมยา - นางตาบ เกิดที่บ้านคลองใหญ่ หมู่ที่ 4 ต.แพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม จบการศึกษาชั้นประถม 4 จากโรงเรียนวัดบางกะพ้อม เมื่อ พ.ศ. 2463 ท่านได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2475 ณ อุโบสถวัดบางกะพ้อม ต.อัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โดยมี หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแช่ม โสฬส เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ปล้อง วัดบางกะพ้อม เป็นอนุสาวนาจารย์ การศึกษา ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดจุฬามณี เมื่อปี 2479 ขณะเดียวกันท่านก็มีความเชี่ยวชาญในทางวิปัสสนา และพุทธาคม เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยท่านได้อาจารย์ดีเป็นเบื้องต้น ตั้งแต่อุปสมบท ประกอบกับความตั้งใจมั่นในการศึกษา และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยได้ศึกษาจาก หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม พระเกจิอาจารย์ผู้โด่งดังของ จ.สมุทรสงคราม เจ้าของเหรียญ 1 ใน 5 ชุดเบญจภาคีเหรียญยอดนิยมของวงการพระเครื่องเมืองไทย นอกจากนี้หลวงพ่อเนื่อง ท่านยังได้เรียนวิชาอาคมต่างๆ จาก หลวงพ่อแช่ม เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี และ หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ผู้สร้างตำนาน ตะกรุดลูกอม อันลือลั่น ไล่เรียงรายนามอาจารย์ของหลวงพ่อเนื่องแล้ว จึงไม่ต้องแปลกใจในความรู้ความสามารถ และความเข้มขลังในสายพุทธาคม ที่หลวงพ่อเนื่องท่านได้สืบทอดมาจากพระเกจิอาจารย์ผู้แก่กล้าสามารถหลายท่านด้วยกัน หลวงพ่อเนื่อง เป็นพระบริสุทธิ์สงฆ์ที่ชาวสมุทรสงคราม และจังหวัดใกล้เคียง มีความศรัทธาเลื่อมใสเป็นอันมาก รวมทั้งงานความสามารถในด้านงานพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองมาสู่วัดจุฬามณี และชุมชนท้องถิ่นมาโดยตลอด จนทำให้ท่านได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูโกวิทสมุทรคุณ เมื่อปี 2496 และเลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาคันธุระ เมื่อปี 2517 ในราชทินนามเดิม วัดจุฬามณี เป็นวัดโบราณสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นระหว่างปี 2172-2190 ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง เดิมชื่อ วัดแม่เจ้าทิพย์ เป็นวัดที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับราชวงศ์จักรี ฝ่ายราชนิกูล (ตระกูลบางช้าง) โดยเดิมกุฏิและอุโบสถล้วนสร้างจากไม้สัก ซึ่งย่อมผุพังและเสื่อมโทรมไปตามกาล ก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในสภาพคงทนแข็งแรง และมีความสวยงามยิ่งขึ้น ก็ด้วยความสามารถของหลวงพ่อเนื่องอย่างแท้จริง วัดจุฬามณี มีเจ้าอาวาสปกครอง เท่าที่สืบได้ ดังนี้ 1.พระอธิการยืน 2.พระอธิการเนียม 3.พระอาจารย์แป๊ะ 4.พระอาจารย์ปาน 5.หลวงพ่ออ่วม 6.พระอาจารย์นุ่ม 7.หลวงพ่อแช่ม 8.หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท และ 9. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (พระอาจารย์ อิฏฐ์ ภทฺทจาโร) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน หลวงพ่อเนื่อง ได้ดูแลบูรณปฏิสังขรณ์วัดจุฬามณี จนเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรือง และมีความสมบูรณ์ในทุกด้าน โดยเฉพาะอุโบสถจตุรมุข หินอ่อน 3 ชั้น กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร สูง 10 เมตร มูลค่าการก่อสร้างนับสิบล้านบาท ซึ่งได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2511 โดย สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (จวน อุฏฐายี) เสด็จทรงประกอบพิธีเมื่อต้นปี 2530 หลวงพ่อเนื่องเริ่มมีอาการอาพาธ จนกระทั่งในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2530 เวลา 06.20 น. ท่านก็ได้ละสังขาร มรณภาพอย่างสงบที่โรงพยาบาลสมิติเวช สิริรวมอายุ 78 ปี 56 พรรษา ยังความโศกเศร้าเสียใจ แก่ศิษยานุศิษย์เป็นอันมาก ทิ้งไว้แต่หลักคำสอน วัตถุมงคล และผลงานการก่อสร้างวัดจุฬามณี ที่มีความสวยงาม และร่มรื่นจนทุกวันนี้ และเรื่องที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่งก็คือ สรีระของ"หลวงพ่อเนื่อง"ท่าน กลับไม่เน่าเปื่อยแต่อย่างใด คงอยู่ในสภาพเดิมๆ ภายในหีบแก้ว บนมณฑป ที่ทางวัดและศิษยานุศิษย์ร่วมกันจัดสร้างขึ้นมาอย่างงดงามยิ่ง ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.tumsrivichai.com ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2022-01-08 13:07:34
รูปหล่อหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม ปี 2527 สภาพสวยเดิมๆ หายากครับ
รูปหล่อหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม ปี 2527 สภาพสวยเดิมๆ หายากครับ รายละเอียดรูปหล่อหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม ปี 2527 สภาพสวยเดิม หายาก ขนาดความกว้างฐาน 1.5 ซม. สูง 2.3 ซม.ประวัติ หลว งพ่อเนื่อง โกวิโท (พระครูโกวิทสมุทรคุณ) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม ตามประวัติโดยสังเขป หลวงพ่อเนื่อง ชื่อเดิม เนื่อง เถาสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2452 ปีระกา เป็นบุตร นายถมยา - นางตาบ เกิดที่บ้านคลองใหญ่ หมู่ที่ 4 ต.แพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม จบการศึกษาชั้นประถม 4 จากโรงเรียนวัดบางกะพ้อม เมื่อ พ.ศ. 2463 ท่านได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2475 ณ อุโบสถวัดบางกะพ้อม ต.อัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โดยมี หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแช่ม โสฬส เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ปล้อง วัดบางกะพ้อม เป็นอนุสาวนาจารย์ การศึกษา ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดจุฬามณี เมื่อปี 2479 ขณะเดียวกันท่านก็มีความเชี่ยวชาญในทางวิปัสสนา และพุทธาคม เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยท่านได้อาจารย์ดีเป็นเบื้องต้น ตั้งแต่อุปสมบท ประกอบกับความตั้งใจมั่นในการศึกษา และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยได้ศึกษาจาก หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม พระเกจิอาจารย์ผู้โด่งดังของ จ.สมุทรสงคราม เจ้าของเหรียญ 1 ใน 5 ชุดเบญจภาคีเหรียญยอดนิยมของวงการพระเครื่องเมืองไทย นอกจากนี้หลวงพ่อเนื่อง ท่านยังได้เรียนวิชาอาคมต่างๆ จาก หลวงพ่อแช่ม เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี และ หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ผู้สร้างตำนาน ตะกรุดลูกอม อันลือลั่น ไล่เรียงรายนามอาจารย์ของหลวงพ่อเนื่องแล้ว จึงไม่ต้องแปลกใจในความรู้ความสามารถ และความเข้มขลังในสายพุทธาคม ที่หลวงพ่อเนื่องท่านได้สืบทอดมาจากพระเกจิอาจารย์ผู้แก่กล้าสามารถหลายท่านด้วยกัน หลวงพ่อเนื่อง เป็นพระบริสุทธิ์สงฆ์ที่ชาวสมุทรสงคราม และจังหวัดใกล้เคียง มีความศรัทธาเลื่อมใสเป็นอันมาก รวมทั้งงานความสามารถในด้านงานพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองมาสู่วัดจุฬามณี และชุมชนท้องถิ่นมาโดยตลอด จนทำให้ท่านได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูโกวิทสมุทรคุณ เมื่อปี 2496 และเลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาคันธุระ เมื่อปี 2517 ในราชทินนามเดิม วัดจุฬามณี เป็นวัดโบราณสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นระหว่างปี 2172-2190 ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง เดิมชื่อ วัดแม่เจ้าทิพย์ เป็นวัดที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับราชวงศ์จักรี ฝ่ายราชนิกูล (ตระกูลบางช้าง) โดยเดิมกุฏิและอุโบสถล้วนสร้างจากไม้สัก ซึ่งย่อมผุพังและเสื่อมโทรมไปตามกาล ก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในสภาพคงทนแข็งแรง และมีความสวยงามยิ่งขึ้น ก็ด้วยความสามารถของหลวงพ่อเนื่องอย่างแท้จริง วัดจุฬามณี มีเจ้าอาวาสปกครอง เท่าที่สืบได้ ดังนี้ 1.พระอธิการยืน 2.พระอธิการเนียม 3.พระอาจารย์แป๊ะ 4.พระอาจารย์ปาน 5.หลวงพ่ออ่วม 6.พระอาจารย์นุ่ม 7.หลวงพ่อแช่ม 8.หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท และ 9. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (พระอาจารย์ อิฏฐ์ ภทฺทจาโร) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน หลวงพ่อเนื่อง ได้ดูแลบูรณปฏิสังขรณ์วัดจุฬามณี จนเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรือง และมีความสมบูรณ์ในทุกด้าน โดยเฉพาะอุโบสถจตุรมุข หินอ่อน 3 ชั้น กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร สูง 10 เมตร มูลค่าการก่อสร้างนับสิบล้านบาท ซึ่งได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2511 โดย สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (จวน อุฏฐายี) เสด็จทรงประกอบพิธี เมื่อต้นปี 2530 หลวงพ่อเนื่องเริ่มมีอาการอาพาธ จนกระทั่งในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2530 เวลา 06.20 น. ท่านก็ได้ละสังขาร มรณภาพอย่างสงบที่โรงพยาบาลสมิติเวช สิริรวมอายุ 78 ปี 56 พรรษา ยังความโศกเศร้าเสียใจ แก่ศิษยานุศิษย์เป็นอันมาก ทิ้งไว้แต่หลักคำสอน วัตถุมงคล และผลงานการก่อสร้างวัดจุฬามณี ที่มีความสวยงาม และร่มรื่นจนทุกวันนี้ และเรื่องที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่งก็คือ สรีระของ"หลวงพ่อเนื่อง"ท่าน กลับไม่เน่าเปื่อยแต่อย่างใด คงอยู่ในสภาพเดิมๆ ภายในหีบแก้ว บนมณฑป ที่ทางวัดและศิษยานุศิษย์ร่วมกันจัดสร้างขึ้นมาอย่างงดงามยิ่ง ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.tumsrivichai.com ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2021-08-25 09:56:42
รูปหล่อ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ออกที่วัดคลองปลาไหล ชัยนาท สภาพสวยมากครับ
รูปหล่อ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ออกที่วัดคลองปลาไหล ชัยนาท สภาพสวยมากครับ รายละเอียดรูปหล่อ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ออกที่วัดคลองปลาไหล อ. วัดสิงค์ จ. ชัยนาท ขนาดความกว้างฐาน 1.1 ซม. ความสูง 1.8 ซม.ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2020-12-23 11:29:45
รูปหล่อหลวงปู่แก้ว สุวณฺณโชโต (พระเทพสาครมุนี) ปี พ.ศ. 2522 วัดช่องลม จ.สมุทรสาคร สภาพสวย
รูปหล่อหลวงปู่แก้ว สุวณฺณโชโต (พระเทพสาครมุนี) ปี พ.ศ. 2522 วัดช่องลม จ.สมุทรสาคร สภาพสวย รายละเอียดรูปหล่อหลวงปู่แก้ว หลวงปู่แก้ว สุวณฺณโชโต (พระเทพสาครมุนี) ปี พ.ศ. 2522 วัดช่องลม จ.สมุทรสาคร สภาพสวย ขนาดความกว้างฐาน 1.5 ซม. สูง 2.5 ซม.ประวัติพระเทพสาครมุนี (หลวงปู่แก้ว) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธิวาตวรารามและอดีตเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาคร พระเทพสาครมุนี (หลวงปู่แก้ว) ฉายา สุวณฺณโชโต อายุ 79 พรรษา 59 ป.ธ. 6 น.ธ. เอก วัดสุทธิวาตวราราม ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร อดีตเคยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาคร เจ้าอาวาสวัดสุทธิวาตวราราม ลำดับที่ 8 สถานะเดิม เดิมชื่อ แก้ว นามสกุลธนสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 25 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2446 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 2 ปีเถาะ เวลา 21.00 น. ณ ที่ตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดพระตะบอง ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นอาณาจักรของประเทศไทย มีบิดาชื่อกัน มารดาชื่อ วงษ์ ที่ ต.กระสัง จ.พระตะบอง บรรพชาเมื่ออายุได้ 12 ขวบ ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดจำบกมาศ ต.กระสัง อ.กระสัง จ.พระตะบอง เมื่อวันที่ 1 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2458 ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้บ้านท่านเพื่อศึกษาเล่าเรียนชั้นสามัญ จนท่านได้มีความรู้อ่าน และเขียนภาษาไทย และภาษาขอมได้เป็นอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะภาษาขอมปรากฏว่า ท่านมีความรู้แตกฉานเป็นพิเศษในขณะที่ท่านบวชเป็นสามเณรนั้นท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างดี อุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดจำบกมาศ โดยมีพระปัญญาสุธรรม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์เผือก พรหฺมสโร วัดกระสัง เป็นพระกรรมทวาจาจารย์ และพระอาจารย์เกตุ แห่งวัดชำนิหัตถการกรุงเทพมหานคร เป็นอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2466 เวลา 09.55 น. ณ วัดจำบกมาศ ต.กระสัง อ.กระสัง จ.พระตะบอง วิทยฐานะ 1. พ.ศ. 2458 สำเร็จวิชาสามัญศึกษาเทียบเท่า ป.1 โรงเรียนวัดจำบกมาศ ตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดพระตะบอง 2. พ.ศ. 2480 สอบได้นักธรรมเอก สำหนักเรียนวัดมหาพฤฒาราม อ.บางรัก จ.กรุงเทพมหานคร 3. พ.ศ. 2481 สอบได้ ป.ธ. 6 สำนักเรียนวัดมหาพฤฒาราม อ.บางรัก จ.กรุงเทพมหานคร 4. การศึกษาพิเศษ มีความรู้แตกฉานในภาษาขอมเป็นอย่างดี 5. ความชำนาญการ มีความชำนาญในการก่อสร้าง การวางผังอาคาร ทั้งตามแบบสถาปัตยกรรมไทย และแบบประยุกต์ มีความชำนาญในการคำนวณหน้าไม้และวิชาช่างไม้ งานปกครอง พ.ศ. 2482 เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พ.ศ. 2488 เป็นเจ้าอาวาสวัดคลองตันราษฎร์บำรุง พ.ศ. 2489 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. 2495 เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม (อารามราษฎร์) พ.ศ. 2495 เป็นเจ้าคณะจังหวัด งานการศึกษา พ.ศ. 2473 เป็นครูสอนบาลีที่วัดชำนิหัตถการ พ.ศ. 2477 เป็นครูสอนปริยัติธรรมที่วัดหลักสองราษฎร์บำรุง พ.ศ. 2478 เป็นครูสอนบาลี และนักธรรมที่วัดใหญ่บ้านบ่อ พ.ศ. 2488 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดคลองตันราษฎร์บำรุงและเป็นผู้อุปการระโรงเรียนวัดคลองตันราษฏร์บำรุง พ.ศ. 2495 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดช่องลม และเป็นผู้อุปการะโรงเรียนเทศบาลวัดช่องลม (เปี่ยมวิทยาคม) วิธีการส่งเสริมการศึกษา คือ จัดตั้งทุนการศึกษาประจำสำนักเรียน จัดส่งนักเรียนไปศึกษาต่อเพิ่มเติม จัดพิมพ์หลักสูตรทั้งบาลีและนักธรรมใช้ใมนสำนักเรียน หลักสูตรที่แพร่หลาย คือ หลักสูตรย่อนักธรรมตรี งานเผยแผ่ พ.ศ. 2489 เป็นองค์ประธานการเผยแผ่จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2509 เป็นหัวหน้าฝ่ายพระธรรมทูตประจำจังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2520 เป็นประธานหน่วยการอบรมประชาชนจังหวัดสมุทรสาคร มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแผ่คือ จัดพิมพ์หนังสือประวัติวัดสุทธิวาตวราราม, หนังสือคู่มืออุโบสถศีล, คู่มือการอุปสมบท, หนังสือสวดมนต์, หนังสือหลักสูตรย่อ น.ธ. ตรี, ศิลปะในการพัฒนาวัด, โพชฌงค์ 7 ประการ, มงคลสูตร, รวมเรื่องเบ็ดเตล็ด,เลือดแม่,10 วันในอินเดีย, ความเป็นมาของสะพานสาครบุรี บรรยายธรรมเรื่อง "หญ้าปากคอก" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง กรมประชาสัมพันธ์ บรรยายธรรมอบรมประชาชนในตำบลต่างๆ เป็นประจำ ร่วมมือกับคณะสงฆ์ และทางราชการในการเผยแพร่คือ จัดส่งพระธรรมทูตจาริกอบรมศีลธรรมแก่ประชาชน และนักเรียนในโรงเรียนต่างๆ ทั่วจังหวัด อบรมศีลธรรมแก่ข้าราชการ ครู และนักเรียนในวันสำคัญของโรงเรียน ในวันสำคัญของทางราชการ และในวันขึ้นปีใหม่เสมอมา งานสาธารณูปการ สร้างกุฏิใหม่ทั้งหมด โดยดัดแปลงจากชั้นเดียวเป็นสองชั้น สร้างศาลาการเปรียญโรงเรียนพระปริยัติธรรม ศาลาบำเพ็ญกุศล โรงครัว สร้างถนน-กำแพงรอบบริเวณวัด สร้างซุ้มประตูหน้าวัด ห้องน้ำ ห้องส้วม ศาลาท่าน้ำ ติดตั้งเสาไฟฟ้า เจาะน้ำบาดาลเพื่อใช้ในวัด สร้างเขื่อนกันน้ำกัดเซาะด้านหน้าและด้านหลังวัด สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ปรับปรุงเสนาสนะที่เห็นว่าไม่เหมาะ โดยพยายามรักษาของเดิมไว้ให้มากที่สุด งานบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ สร้างสะพานสาครบุรี สร้างถนนเชื่อมต่อระหว่าง ต.ท่าจีน - ต.บางหญ้าแพรก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร สร้างสถานีตำรวจภูธรชั่วคราว และโครงการสร้างสถานีอนามัย ต.ท่าฉลอม เป็นผู้อุปถัมภ์ในการปรับปรุงวัดใหญ่บ้านบ่อ เป็นผู้วางแผนผังการก่อสร้าง วัดบางหญ้าแพรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นองค์อุปถัมภ์การจัดตั้งมูลนิธิ โรงเรียนสาครวิทยา เป็นกรรมการอุปถัมภ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ร่วมนั่งปรกพิธีพุทธาภิเศก เหรียญไพรรีพินาศที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นั่งปรกพิธีพุทธาภิเศกพระพุทธรูปของพุทธมณฑล, นั่งปรกพิธีพุทธาภิเศกเหรียญศาลเจ้าพ่อหลักเมืองฯ สมุทรสาคร, นั่งปรกพิธีพุทธาภิเศกสร้างเหรียญ และพระพุทธรูปบูชา ของวัดต่างๆ อีกมาก ตลอดจนถึงเป็นประธานในการจุดเทียนชัย และดับเทียนชัยสร้างรูปเหรียญ, ผ้ายันต์, พระพุทธรูปบูชา, พระสมเด็จผงพิมพ์เล็ก-พิมพ์ใหญ่, พระปิดตามหาลาภให้เป็นสมบัติของวัดสุทธิวาตวราราม เพื่อหารายได้บำรุงวัด สร้างพระสังกัจจายน์มหาลาภ เพื่ออุปถัมภ์การสร้างวัดหงส์อรุณรัศมี ต.ท่าจีน จ.สมุทรสาคร วัตถุมงคลแต่ละชนิดลงเองและปลุกเสกเองแต่ผู้เดียวทั้งสิ้น ซึ่งวัตถุมงคลดังกล่าวนี้ บางอย่างยังมีเหลืออยู่บางอย่างหมดไปแล้วและบางอย่างเพิ่มเริ่มมีขึ้นแต่ละอย่างมีผู้มาขอไปเป็นจำนวนมาก ปฏิปทาและความเคารพนับถือของประชาชน ท่านเป็นผู้สนใจต่อการศึกษาทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี และภาษาขอม หมั่นหาความรู้เพิ่มเติมเสมอ ติดตามความเคลื่อนไหวของโลกและบ้านเมืองอยู่ตลอดเวลา มีความสนใจเป็นพิเศษต่อภาษาหนังสือ แต่งหนังสือไว้หลายเล่ม แต่ละเล่มเป็นที่สนใจของผู้อ่านทั้งสิ้น มีความสามารถในการเทศนาสั่งสอน การบรรยายธรรม ตลอดจนการปาฐกถาธรรมบรรยาย และตอบโต้ได้เป็นที่พอใจของผู้ฟัง ท่านเป็นผู้เคร่งครัดต่อระเบียบวินัย จึงวางระเบียบ และกติกาของวัดไว้เคร่งครัดมาก ปกครองให้ความเป็นธรรมแบบบิดาปกครองบุตร จึงเป็นที่เคารพนับถือของศิษยานุศิษย์โดยทั่วไป ตลอดเวลาที่ท่านปกครองวัดสุทธิวาตวราราม (ช่องลม) ท่านได้พัฒนาวัดของท่านเป็นอย่างมากต่อมา กรมศาสนาจึงยกวัดช่องลมขึ้นเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ดีเด่น อันดับ 1 ของประเทศไทย สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ประทานพัดพัฒนาดีเด่นให้กรมศาสนาถวายประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติให้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2512 ต่อมาทางเทศบาลเมืองสมุทรสาครได้หล่อรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่วัดเบญจมบพิตร แล้วอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์มาประดิษฐานที่หน้าวัดทำให้บริเวณหน้าวัดเด่นเป็นสง่ายิ่งขึ้น ในสมัยท่านเป็นเจ้าอาวาสนั้นได้พัฒนาวัด ตลอดจนเสนาสนะอย่างต่อเนื่อง จนมีเจ้าอาวาสวัดต่างๆ เดินทางมาดูตัวอย่างการก่อสร้างที่วัดอยู่เสมอๆ จากการพัฒนาวัดดังกล่าว ความทราบถึงพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ล้นเกล้าฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร และพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา จึงเสด็จพระราชดำเนินทรงทอดพระกฐินต้น เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2508 พระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประดิษฐานที่หน้าบรรณพระอุโบสถ พระราชทานฉัตรขาว 9 ชั้น ตั้งสองข้างพระประธาน และทรงพระราชทานนามของวัดช่องลมให้ใหม่ว่า "วัดสุทธิวาตวราราม" ปัจฉิมกาล พระเทพสาครมุนี (หลวงปู่แก้ว) ได้อุทิศชีวิตและร่างกายให้กับพระศาสนา และสังคมอย่างไม่หยุดยั้ง ตลอดชีวิตของท่านตั้งแต่บวชจนถึงปี พ.ศ. 2524 หลวงปู่ไม่เคยป่วยมากถึงกับต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเลยนอกจากบางครั้งเป็นไข้หวัด เรียกหมอมาฉีดยา ประมาณเดือนพฤศจิกายน 2524 หลวงปู่ได้เดินพลาดบันได เท้าแพลง เดินไม่ได้หลายเดือน ถึงกระนั้นท่านก็ยังทำกิจวัตรของท่านโดยการใช้รถเข็น ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 หลวงปู่เริ่มป่วยบ่อยครั้งส่วนใหญ่จะเป็นไข้หวัดและอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ และไม่ค่อยมีแรง คณะกรรมการและศิษยานุศิษย์ต้องการที่จะให้ท่านได้พักผ่อนให้มาก จึงได้นำท่านไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลพญาไท กรุงเทพมหานคร เป็นเวลาเกือบเดือน เมื่อท่านหายเป็นปกติแล้วจึงได้นำกลับมาพักผ่อนที่วัดตามเดิม ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 หลวงปู่ได้เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลพญาไทอีกหลายครั้ง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโรคเก่า คืออ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะและไข้หวัด แต่เมื่อได้เข้าพักรักษาตัวไม่นาน ท่านก็หายเป็นปกติทุกครั้ง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2526 อาการป่วยของหลวงปู่ก็เริ่มเกิดขึ้นอีกเวลาประมาณ 16.00 น. ศิษย์หลวงปู่ได้นำเอารถมารับหลวงปู่ไปยังโรงพยาบาลพญาไทในเย็นของวันนั้น หลวงปู่ต้องเข้าพักรักษาตัวในห้อง ไอ.ซี.ยู. เป็นเวลา 1 คืน วันที่ 6 ก.ย. พ.ศ. 2526 อาการของหลวงปู่ก็เริ่มดีขึ้นโดยลำดับ ท่านก็บอกหมอและศิษย์ที่ไปเฝ้าว่า ท่านต้องการกลับวัด หมอขอร้องให้ท่านอยู่อีกสัก 2-3 วัน จึงจะกลับได้ วันที่ 7 ก.ย. พ.ศ. 2526 อาการของหลวงปู่ก็เริ่มดีขึ้นโดยลำดับ วันที่ 8 ก.ย. พ.ศ. 2526 อาการของหลวงปู่ก็นับว่า เกือบจะเป็นปกติแล้ว และตั้งใจว่าจะกลับไปวัดได้ในวันรุ่งขึ้น จนกระทั่งเวลาประมาณ 22.00 น. พระมหาสมบูรณ์ ปญฺญาวุโธ และคณะที่ไปเยี่ยมหลวงปู่ตั้งแต่ตอนเย็นวันนั้น ต่างพูดคุยกันในห้องพักนั้นอย่างปกติ โดยคุยกับหลวงปู่บ้าง คุยกันเองบ้าง เพราะดีใจที่หลวงปู่หายดีแล้ว เวลาประมาณ 24.00 น. หลวงปู่ได้ตื่นขึ้นมาเพื่อเข้าห้องน้ำ พระประจวบก็ได้ประคองให้หลวงปู่เข้าห้องน้ำ เมื่อเสร็จกิจแล้ว ก็กลับมานอนตามปกติ หลวงปู่ก็นอนหลับ เวลา 3.30 น. หลวงปู่ได้ตื่นขึ้น และเข้าห้องน้ำอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเสร็จแล้วหลวงปู่ก็นั่งอยู่บนเตียงและบอกให้พระประจวบหยิบบุหรี่ใบจากให้ท่านสูบ ท่านก็ถามพระประจวบว่า "เวลาเท่าไรแล้ว" พระประจวบ ตอบว่า จวนตี 4 แล้ว ท่านก็พยักหน้ารับรู้แล้วบอกพระประจวบว่า ให้ถอยออกไปก่อนบอกว่าให้ไปนอนต่อเถอะยังดึกอยู่ จนกระทั่งเวลา 05.00 น. เห็นหลวงปู่นอนหลับ ก็เดินเข้าไปจับดูเหมือนกับท่านกำลังหลับ น้ำเกลือที่ให้ยังหยดอยู่ตามปกติ พระประจวบคิดว่าหลวงปู่นอนหลับจึงไม่รบกวนท่าน สักพักหนึ่งพระประจวบจึงฉุกคิดว่าปกติหลวงปู่ท่านเป็นคนตื่นง่ายเมื่อถูกตัวท่านแล้วท่านจะต้องรู้ตัวจึงรีบเข้าไปจับดูและเอานิ้วไปแตะที่จมูกท่าน ปรากฏว่าท่านไม่หายใจเสียแล้ว ด้วยความตกใจรีบไปเรียกนางพยาบาลมาโดยเร็ว เมื่อนางพยาบาลมาตรวจดูเห็นหลวงปู่ตัวยังอุ่นอยู่จึงรีบปั้มหัวใจเพื่อช่วยเหลือให้ท่านได้หายใจอีกครั้ง แต่ ...สายไปเสียแล้ว หลวงปู่สิ้นใจโดยสงบ ทั้งๆ ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เลยแต่มันก็เป็นไปแล้วจริง ๆ ... (เหตุการณ์นี้จากการจดบันทึก ของพระประจวบ สุนฺทรญาโณ พระผู้อุปัฏฐากใกล้ชิดจดไว้) วันที่ 9 ก.ย. พ.ศ. 2526 หลวงปู่กลับมาวัดจริง ๆ ตามความประสงค์ของท่าน แต่ท่านกลับมาเพียงร่างกายเท่านั้น ส่วนวิญญาณของท่านไปสู่สุคติโลกสวรรค์แล้วโดยความสงบสุข ปล่อยให้ลูกศิษย์ทั้งหลายต้องเศร้าโศกเสียใจอย่างใหญ่หลวง ถึงแม้เป็นกฎธรรมชาติก็จริงอยู่ แต่ใครเล่าจะอดใจได้ในเมื่อสิ่งที่รัก สิ่งที่เคารพบูชาสูงสุดได้จากไปอย่างที่ไม่ทันจะคาดคิดอย่างนี้ หลวงปู่จากไปเมื่อตอนเช้าตรู่ของวันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2526 เวลา 04.45 น.ท่ามกลางความอาลัยของศิษยานุศิษย์ และผู้ที่เคารพทั่วไป ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2020-09-18 12:13:31
รูปหล่อหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดเขาน้อยคีรีวัน จ.ชลบุรี ไม่ทราบข้อมูลปีที่สร้าง เนื้อทองแดงกล่องเดิมครับ
รูปหล่อหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดเขาน้อยคีรีวัน จ.ชลบุรี ไม่ทราบข้อมูลปีที่สร้าง เนื้อทองแดงกล่องเดิมครับ รายละเอียดรูปหล่อหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดเขาน้อยคีรีวัน จ.ชลบุรี ไม่ทราบข้อมูลปีที่สร้าง เนื้อทองแดงกล่องเดิมครับ โดยองค์พระมีขนาดความกว้างฐาน 1.5 ซ.ม. ความสูงขององค์พระ 2 ซ.ม. สนใจคุยกันได้ที่ Line ID : suriyun07ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2020-04-15 10:47:26
รูปหล่อออกธุดงค์หลวงปู่โทน กันตสีโล วัดเขาน้อยคีรีวัน จ.ชลบุรี ปี 2549 เนื้อทองแดงกล่องเดิมครับ
รูปหล่อออกธุดงค์หลวงปู่โทน กันตสีโล วัดเขาน้อยคีรีวัน จ.ชลบุรี ปี 2549 เนื้อทองแดงกล่องเดิมครับ รายละเอียดรูปหล่อออกธุดงค์หลวงปู่โทน กันตสีโล วัดเขาน้อยคีรีวัน อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ปี พ.ศ.2549 เนื้อทองแดงกล่องเดิมครับ โดยองค์พระมีขนาดความกว้างฐาน 0.8 ซ.ม. ความสูงขององค์พระ 2.8 ซ.ม. สนใจคุยกันได้ที่ Line ID : suriyun07ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2020-04-15 10:46:50
รูปหล่อรุ่นแรกหลวงพ่อคง วัดเขาสมโภชน์ จ.ลพบุรี เนื้อทองแดงกล่องเดิมๆ ครับ
รูปหล่อรุ่นแรกหลวงพ่อคง วัดเขาสมโภชน์ จ.ลพบุรี เนื้อทองแดงกล่องเดิมๆ ครับ รายละเอียดรูปหล่อรุ่นแรกหลวงพ่อคง จัตตมโล วัดเขาสมโภชน์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เนื้อทองแดงกล่องเดิมๆ ครับ โดยฐานองค์พระกว้าง 1.3 ซ.ม. ความสูงองค์พระ 1.9 ซม. สนใจคุยกันได้ที่ Line ID : suriyun07ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2019-10-30 13:42:59
รูปเหมือนพระราชเขมาจารย์ (หลวงพ่อเปาะ) วัดช่องลม จ.ราชบุรี เนื้อทองแดงครับ
รูปเหมือนพระราชเขมาจารย์ (หลวงพ่อเปาะ) วัดช่องลม จ.ราชบุรี เนื้อทองแดงครับ รายละเอียดรูปเหมือนพระราชเขมาจารย์ (หลวงพ่อเปาะ) วัดช่องลม อ.เมือง จ.ราชบุรี เนื้อทองแดงครับ โดยฐานองค์พระกว้าง 1.5 ซ.ม. ความสูงองค์พระ 2.3 ซ.ม. สนใจคุยกันได้ที่ Line ID : suriyun07ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2019-06-12 12:35:57
รูปหล่อหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี รุ่นครบรอบ 80 ปี พ.ศ. 2533 เนื้อทองแดงอุดกริ่งใต้ฐานครับ
รูปหล่อหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี รุ่นครบรอบ 80 ปี พ.ศ. 2533 เนื้อทองแดงอุดกริ่งใต้ฐานครับ รายละเอียดรูปหล่อหลวงพ่ออุตตมะ (พระราชอุดมมงคล) วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี รุ่นอายุครบรอบ 80 ปี พ.ศ. 2533 เนื้อทองแดงอุดกริ่งใต้ฐานครับ โดยฐานพระมีความกว้าง 1.4 ซ.ม. ความสูงองค์พระ 2.1 ซ.ม. ครับ สนใจคุยกันได้ที่ Line ID : suriyun07ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2019-04-26 14:38:23
รูปหล่อลอยองค์หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง ก้นสิงห์ ฉลองครบรอบอายุ 80 ปี พ.ศ. 2534 เนื้อนวโลหะแก่เงินครับ
รูปหล่อลอยองค์หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง ก้นสิงห์ ฉลองครบรอบอายุ 80 ปี พ.ศ. 2534 เนื้อนวโลหะแก่เงินครับ รายละเอียดรูปหล่อลอยองค์หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง ก้นสิงห์ ฉลองครบรอบอายุ 80 ปี (เป็นกรณีพิเศษ) พ.ศ. 2534 เนื้อนวโลหะแก่เงินครับ ขนาดความกว้างของฐาน 1.3 ซม. ความสูง 2 ซม. สนใจพูดคุยกันได้ที่ Line ID : suriyun07ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2018-08-31 10:04:43
รูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อขอม พิมพ์หน้าหนุ่ม วัดไผ่โรงวัว อุดกริ่ง ปี 2505 จ.สุพรรณบุรี เนื้อทองเหลือง สภาพสวยมาก
รูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อขอม พิมพ์หน้าหนุ่ม วัดไผ่โรงวัว อุดกริ่ง ปี 2505 จ.สุพรรณบุรี เนื้อทองเหลือง สภาพสวยมาก รายละเอียดรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อขอม พิมพ์หน้าหนุ่ม วัดไผ่โรงวัว อุดกริ่ง ปี 2505 จ.สุพรรณบุรี เนื้อทองเหลือง ขนาด ความกว้างฐาน 1.5 ซม. ความสูง 2.2 ซม.ประวัติหลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี ประวัติของหลวงพ่อขอม เดิมท่านชื่อ เป้า แต่เพื่อนๆ เรียกท่านว่า ขอม เมื่อได้ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้ว พระขอม หรือ อนิโชภิกษุ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบางสาม ได้ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาพระธรรมวินัย ด้วยความเอาใจใส่อย่างยิ่ง และปฏิบัติตนในศีลาจารวัตรเป็นอย่างดีอยู่หลายปี จนกระทั่งเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงมาถึง ได้มีสำนักสงฆ์สร้างขึ้นใหม่แห่งหนึ่ง มีชื่อเรียกตามความนิยมของชาวบ้านว่า “วัดไผ่โรงวัว” ด้วยเหตุที่นี่ไม่มีสมภารเจ้าวัด บรรดาชาวบ้านย่านนั้นซึ่งจับตาดูพระขอมมาตั้งแต่ต้นลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ผู้ที่สมควรได้รับตำแหน่งสมภารวัดใหม่นี้ ไม่มีท่านใดเหมาะเท่าพระขอม เมื่อลงความเห็นดังนี้ ต่างก็พากันกันไปนิมนต์พระขอม ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดไผ่โรงวัว พระขอมซึ่งเคยเป็นที่คุ้นเคยกับพุทธบริษัทที่นั่นไม่อาจขัดศรัทธาได้ จึงย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นเป็นเวลา ๒ ปี ชีวิตของท่านในช่วงนี้ หากจะขาดก็คือขาดสถานศึกษาเล่าเรียนพระพุทธศาสนา เพราะวัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ สิ่งนี้ทำให้พระขอมพิจารณาตนเอง และเห็นว่าอันธรรมวินัยของพระศาสดานั้น ท่านยังเข้าไม่ถึงพอที่จะเป็นสมภารเจ้าวัดได้ หากผู้ศรัทธายังประสงค์จะให้ท่านเป็นผู้นำของวัดนี้อยู่ ท่านก็จำต้องเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ดังนั้นท่านจึงขอย้ายไปจำพรรษาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งอยู่ในตัวเมืองสุพรรณบุรี แล้วไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดประตูสารใกล้ๆ กับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุที่ท่านจำพรรษาอยู่นั่นเอง การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระขอมดำเนินไป ๓ ปี ก็สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอกอันเป็นความรู้ชั้นเถรภูมิ คราวนี้ท่านกลับมาสู่วัดไผ่โรงวัวอีกครั้งหนึ่งอย่างสมภาคภูมิ กลับมาอย่างผู้พร้อมที่จะบริหารภารกิจให้พระศาสนาอย่างเต็มที่ ดังได้กล่าวแล้วว่าวัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ จึงยังไม่ถึงพร้อมในทุกๆ ด้านคือ ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย กุฏิที่อยู่จำพรรษาของพระภิกษุสามเณรก็เป็นกระต๊อบมุงจากเก่าๆ มีอยู่เพียง ๒ หลัง ศาลาการเปรียญที่เป็นที่บำเพ็ญกุศลของทายกทายิกา เป็นเพียงเรือนไม้ไผ่หลังคามุงจากอาศัยพื้นดินเป็นพื้นของศาลา น่าอนาถใจยิ่ง ภาระของพระขอมคือต้องปรับปรุงศาสนสถานแห่งนี้ให้น่าพักพิงสมกับเป็นวัดก่อน เพื่อจะได้เป็นหนทางนำไปซึ่งการปรับปรุงจิตใจของชาวบ้านผู้ศรัทธาเป็นชั้นที่สอง และเนื่องจากบรรดาชาวบ้านต่างมีศรัทธาพระขอมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว งานปรับปรุงก่อสร้างชั้นแรกจึงผ่านไปได้ไม่ยาก เริ่มด้วยการถมดินไม่ให้น้ำท่วมวัดได้ เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นที่ลุ่มมาก ถึงฤดูฝนคราใดน้ำท่วมทุกปี และท่วมมากขนาดเรือยนต์เรือแจวแล่นถึงกุฏิได้ เมื่อถมดินเสร็จท่านได้จัดการขุดสระน้ำสำหรับเป็นที่สรงน้ำ และน้ำดื่มของพระภิกษุสามเณร และเพื่อชาวบ้านทั้งหลายจะได้อาศัยอาบกินโดยทั่วไป แล้วซ่อมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรม สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโบสถ์ จัดสรรให้เหมาะสมเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามสมกับคำว่า “วัด” ทำให้ศรัทธาของชาวบ้านก็เพิ่มมากขึ้น นับตั้งแต่พระขอมได้บวชเป็นพระสงฆ์ ท่านมีความตั้งใจมั่น ดังที่เรียกว่ามโนปณิธาน เรื่องนี้ท่านกล่าวกับผู้ใกล้ชิดว่า “... อาตมาได้ฟังพระท่านเทศน์ว่า บุคคลผู้ใดเลื่อมใสได้สร้างพระพุทธรูป จะเล็กเท่าต้นคาก็ดี โตกว่าต้นคาก็ดี ผู้นั้นจะได้เป็นพรหม เป็นอินทร์ หมื่นชาติแสนชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หมื่นชาติแสนชาติ ผู้นั้นจะไม่เป็นผู้ตกต่ำเลย จนตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน ถ้าผู้ใดสร้างพระพุทธรูปด้วยทองคำ ผู้นั้นจะได้เกิดเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า...” ด้วยมโนปณิธานนี้เอง ทำให้ท่านขอมคิดเริ่มสร้างพระพุทธโคดม ด้วยทองสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงพ่อขอมเริ่มบอกบุญแก่ญาติโยมใช้เวลา ๒ ปี กว่าจะเริ่มสร้างได้ เนื่องจากเป็นงานใหญ่นั่นเอง ถึงต้องใช้เวลาสร้างทั้งหมด ๑๒ ปี จนแล้วเสร็จ พ.ศ. ๒๕๑๒ หลังจากนั้น ท่านก็เริ่มสร้างสิ่งก่อสร้างอีกหลายอย่าง เช่น สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล แดนสวรรค์ นรกภูมิ เมืองกบิลพัสดุ์ และอีกหลายๆ อย่างด้วยกันดังที่เห็นกันในทุกวันนี้ มีลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดเคยถามหลวงพ่อขอมว่าจะสร้างสิ่งก่อสร้างไว้มากมายเพื่ออะไร ท่านตอบว่า "อาตมาสร้างไว้เพื่อให้ผู้ศรัทธา และอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรื่องราวของพุทธประวัติ" นอกจากงานก่อสร้างแล้ว หลวงพ่อขอมท่านยังเป็นนักเขียนนักแต่ง ที่มีความสามารถไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าด้านงานก่อสร้าง ผลงานของท่านปรากฏอยู่หลายเรื่อง เฉพาะที่จัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานไปแล้วก็มีเรื่อง ธรรมทูตเถื่อน พุทธไกรฤกษ์ สมถะและวิปัสสนา จนถึงวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๓๓ เวลา ๑๖.๕๕ หลวงพ่อขอมก็มรณภาพลงด้วยโรคหัวใจล้มเหลว รวมสิริอายุ ๘๘ ปี พรรษา ๖๘ ทำให้นึกถึงคำปฏิญาณของหลวงพ่อขอม ที่ท่านได้กล่าวไว้ ๕ ข้อ คือ ๑. ชีวิตของเราที่เหลือขอช่วยพระพุทธองค์ไปจนตาย ๒. เมื่อมีชีวิตอยู่ ถ้าเรามีเงินส่วนตัวสัก ๑ บาท เราจะอายพุทธบริษัทเป็นอย่างยิ่ง ๓. เราจะให้รูปพระองค์เกลื่อนไปในพื้นธรณี ๔. โอ...โลกนี้ไม่ใช่ของฉัน และ ๕.เราต้องตาย ตายใต้ผ้าเหลืองของเรา ข่าวพระเครื่องที่มา http://www.komchadluek.net และขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.tumsrivichai.com ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2018-01-22 16:12:14
รูปหล่อโบราณลอยองค์ หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ปี 2520 จ.นครปฐม เนื้อตะกั่ว
รูปหล่อโบราณลอยองค์ หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ปี 2520 จ.นครปฐม เนื้อตะกั่ว รายละเอียดรูปหล่อโบราณลอยองค์ หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ปี 2520 จ.นครปฐม เนื้อตะกั่ว ขนาดความกว้างฐาน 1.5 ซม. ความสูง 2.5 ซม.ประวัติ หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม " พระอุดมประชานาถ" นามเดิม เปิ่น นามสกุล ภู่ระหงษ์ เกิดวันอาทิตย์ที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ เดือน ๙ ปีกุน ณ บ้านเลขที่ ๔ หมู่ที่ ๔ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรของนายฟัก นางยวง ภู่ระหงษ์ เป็นบุตรคนที่ ๙ ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกันรวม ๑๐ คน คือ ๑. นางจันทร์ อ่ำระมาด ถึงแก่กรรม ๒. นางอินทร์ คงประจักษ์ ถึงแก่กรรม ๓. นายเถิ่ง ภู่ระหงษ์ ถึงแก่กรรม ๔. นายชุ ภู่ระหงษ์ ถึงแก่กรรม ๕. นางไว ภู่ระหงษ์ ถึงแก่กรรม ๖. นายเลื่อน ภู่ระหงษ์ ถึงแก่กรรม ๗. นายไล้ ภู่ระหงษ์ ถึงแก่กรรม ๘. นางรองภู่ระหงษ์ ถึงแก่กรรม ๙. พระอุดมประชานาถ "เปิ่น ภู่ระหงษ์" ๑๐. นางอางค์ เฮงทองเลิศ ชีวิตปฐมวัยของหลวงพ่อเปิ่นนับเนื่องแล้วเป็นสิ่งที่น่าศึกษาอย่างที่สุดที่เป็น เช่นนี้เพราะว่าในสมัยนั้นแถบถิ่นลุ่มแม่น้ำนครชัยศรีอุดมมากไปด้วยวิชาอาคม อาจเนื่องด้วยที่นั่นไกลปืนเที่ยงในตอนนั้นการเรียนรู้วิชาเอาไว้เพื่อป้องกันตัวจึงถือเป็นหนึ่งในลูกผู้ชายทุกคนจักพึงมี หลวงพ่อเปิ่นสนใจในเรื่องของไสยศาสตร์มาตั้งแต่สมัยเด็กอาศัยว่าครอบครัวของท่านอยู่ใกล้กับวัดบางพระซึ่งในสมัยนั้นมีพระคุณเจ้าที่จำพรรษาอยู่ที่วัดบางพระมีความเก่งกาจมีความเชี่ยวชาญในสายไสยศาสตร์หลายองค์ เด็กชายเปิ่นจึงเข้าออกเพื่อความอยากรู้อยากใฝ่หา ในวิชาอยู่กับวัดบางพระเป็นประจำ ในช่วงนี้เองบิดาซึ่งเห็นแววของเด็กชายเปิ่นมาตั้งแต่เล็กๆ ว่ามีจิตใจอันเด็ดเดี่ยวและมีสัจจะเป็นยอด จึงได้ถ่ายทอดความรู้รวมทั้งวิทยาการ คาถาอาคมที่บิดาพอมีอยู่ให้กับเด็กชายเปิ่น ถือเป็นรากฐานเบื้องต้นตั้งแต่บัดนั้น ครั้นต่อมาครอบครัวย้ายไปตั้งรกรากทำมาหากินที่จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่นี่เองที่เด็กชายเปิ่นได้ฉายความเป็นนักเลงจริง เป็นคนจริงให้เห็น เพราะการอยู่ในดงนักเลงที่เป็นคนจริง จะต้องเป็นคนจริงไปด้วยโดยปริยาย เมื่อถึงจุดนี้ผู้ชายไทยใจนักเลงทุกคนจึงต้องหาอาจารย์ศึกษาในทางด้านไสยเวทเพื่อ ไว้ป้องกันตัวเองบ้าง เพื่อเป็นการเสริมสร้างบารมีให้แก่ตนเองบ้าง เด็กชายเปิ่นจึงต้องขวนขวายหาครูบาอาจารย์ผู้เรืองเวทวิทยาคม เพื่อศึกษาหาวิชามาไว้ป้องกันตัวเอง ได้เวทมนตร์คาถาเอามาท่องจำเป็นอย่างนี้อยู่ตลอด จนกระทั่งได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแดง แห่งวัดทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ศิษย์เอกของหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน พระคุณเจ้าเก่งพร้อมทุกด้าน โดยเฉพาะเก่งกล้าเป็นอย่างมากทางด้านกัมมัฏฐานและไสยเวท นี่เองคือจุดเริ่มความเก่งกาจของเด็กชายเปิ่น ในเวลานั้นหลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก ท่านเสมือนจะทราบว่าเด็กชายเปิ่นคนนี้มีแววแห่งผู้ขมังเวทย์อย่างแน่นอน อีกทั้งจิตอันใสบริสุทธิ์สะอาด ผนวกกับเป็นคนจริง ท่านจึงได้ถ่ายทอดในสายวิชาของท่านพร้อมวิชาไสยเวทต่าง ๆ ให้กับเด็กชายเปิ่นทุกอย่างที่สอนได้ ด้วยความที่ตนเองใฝ่หาทางนี้โดยตรง ความรู้ที่หลวงพ่อแดงมอบให้ เด็กชายเปิ่นได้รับไว้อย่างมากมาย ที่สำคัญในช่วงนั้นนั่นเองที่เด็กชายเปิ่นเติบโตขึ้นเป็นนายเปิ่นแล้วได้พบเจอกับเพื่อนที่มีความอยากรู้ อยากเรียน อยากทราบในสายไสยเวทเหมือนกัน จึงเป็นที่ถูกคอกันยิ่งนัก ซึ่งต่อมาเพื่อนคนนี้ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนานามว่า "หลวงพ่อจำปา" (มรณภาพแล้ว) เจ้าอาวาสวัดประดู่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย นายเปิ่น ศึกษาวิชากับหลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอกอยู่จนถึงเวลาที่ครอบครัวย้ายกลับสู่ถิ่นฐานเดิมคือตำบลบางแก้ว ฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมอีกครั้ง ซึ่งพอดีถึงเวลาอายุครบเกณฑ์ทหาร ในสมัยนั้นการเกณฑ์ทหารแบ่งออกเป็นสองอย่าง คือทหารประจำการ กับทหารโยธา การเข้าเกณฑ์ทหารในครั้งนั้น นายเปิ่นได้ถูกคัดเลือกให้เป็นทหารโยธา ผลัดที่ ๒ แต่นายเปิ่นก็ไม่ได้เป็นทหารรับใช้ชาติ เพราะทางการประกาศยุบเลิกทหารโยธาเสียก่อนจึงต้องช่วยพ่อแม่ทำนาเรื่อยมา สมัยนี้เองที่นายเปิ่นได้รับการถ่ายทอดวิชาสักยันต์อันเกรียงไกร จากหลวงพ่อหิ่ม อินฺทโชโต เจ้าอาวาสวัดบางพระ หลวง พ่อหิ่ม อินฺทโชโต หากเทียบกันในเรื่องไสยเวทคาถา จัดได้ว่าไม่เป็นสองรองใคร เพียงแค่ท่านเพ่งกระแสจิตเท่านั้นแม้จะมีอันตรายใดๆ ก็ตามไม่สามารถกล้ำกรายเข้ามาได้ อีกทั้งเรื่องยาสมุนไพรรักษาโรคที่อื่นหมดทางที่จะรักษาให้หายได้ แต่เมื่อได้มากราบนมัสการขอความเมตตาจากท่าน ท่านจะปรุงยาให้ไปต้มรับประทานก็หายได้เหมือนปาฏิหาริย์ คาถาอาคมต่างๆ ตลอดยาสมุนไพรที่หลวงพ่อท่านรักและเมตตาศิษย์คนนี้เป็นพิเศษ วิชาการต่างๆ ท่านจึงถ่ายทอดให้โดยไม่ ปิดบัง เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เป็นเพราะในช่วงที่เป็นหนุ่มแน่น นายเปิ่นเข้าออกวัดบางพระทุกครั้งขณะที่ว่างจากงาน ใกล้ชิดกับวัดมากและดีที่สุด จนเมื่อถึงเวลาหนึ่งซึ่งนายเปิ่นคิดไปว่าควรจะบวชเรียน เพื่อศึกษาในสายวิชาที่ได้ศึกษามานั้น อย่างจริงจัง ซึ่งวิชาดังกล่าวจะให้ได้ผลอย่างจริงจังจิตใจจะต้องนิ่งสงบไม่มีทางใดดีกว่านอกจากบวชเรียนเท่านั้น จึงขออนุญาต คุณพ่อและคุณแม่ว่าอยากจะบวช ซึ่งทั้งสองท่านต่างก็มีความยินดีมีความปลื้มอกปลื้มใจที่ลูกมีจิตศรัทธาจะบวชเรียนใน พระพุทธศาสนานอกจากจะได้รับอานิสงส์จากการบวชของลูกแล้วก็ยังเป็นการที่ลูกจะตอบแทนพระคุณตามโบราณกาลที่ถือ เนื่องกันมาโดยลำดับ ดังนั้นวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน จึงเข้าสู่บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม บรรพชาวันศุกร์ที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน ณ พัทธสีมาวัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เจ้าอธิการหิ่ม อินทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทองอยู่ ปทุมรัตน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เปลี่ยน ฐิตฺธัมโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้นามว่า "พระฐิตคุโณ" เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาพระธรรมวินัยตามหน้าที่ของพระนวกะ ว่างจากงานก็ปรนนิบัติพระอุปัชฌาย์ ซึ่งท่านชราภาพมากแล้ว ขณะเดียวกันก็ได้ศึกษาวิชาการต่างๆ จากท่านด้วย ท่านก็ได้ให้ความเมตตาอนุเคราะห์สงเคราะห์ให้ด้วยดี ที่สำคัญของพระปฏิบัติก็คือกัมมัฎฐาน จิตใจเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่สุด เวทมนต์คาถาจะขลังหรือศักดิ์ก็เพราะจิต ด้วยเหตุดังกล่าวหลวงพ่อจึงเน้นการปฏิบัตินี้มาก และได้ฝึกหัดให้ชำนาญยิ่งกว่านั้นท่านยังได้รับถ่ายทอดอักขระโบราณ เป็นรูปแบบยันต์ต่างๆ การลงอาคมคาถาตามทางเดินของสายพระเวทย์ กล่าวกันว่าอักขระที่หลวงพ่อเปิ่นลงหรือเขียนนั้น สวยงามมีเสน่ห์เป็นยิ่งนัก ในช่วง ๔ ปีกว่าที่อยู่รับใช้ และเล่าเรียนวิชาอาคมต่างๆ จากหลวงพ่อหิ่ม ก็รู้สึกภูมิใจมากที่ไม่เสียทีได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาทำให้รู้และเข้าใจในวิชาการต่างๆ และอยู่ปรนนิบัติจนถึงกาลที่หลวงพ่อหิ่มละสังขาร (มรณภาพ) ซึ่งนับเป็นศิษย์องค์สุดท้ายที่ได้อยู่ปรนนิบัติหลวงพ่อ อย่างไรก็ดีการศึกษาเล่าเรียนใดๆ ไม่มีที่สิ้นสุด แม้นได้รับจากหลวงพ่อหิ่มมาก็ยังไม่อิ่มในรสแห่งพระธรรม เสร็จจากงานฌาปนกิจศพของหลวงพ่อหิ่มแล้ว ก็ตั้งใจจะแสวงสัจจะธรรมต่อไปอีก จึงเข้าไปกราบลาหลวงพ่อทองอยู่ ปทุมรัตน์ พระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เปลี่ยน ฐิตธมฺโม พระอนุสาวนาจารย์ เพื่อเดินธุดงค์วัตรแสวงหาธรรมเพิ่มต่อไป พระอาจารย์ทั้งสองต่าง ก็พลอยยินดีและอนุโมทนาในการที่จะปฏิบัติธรรมเพิ่มยิ่ง ๆ ขึ้นไป เมื่อได้รับอนุญาตจากอาจารย์ทั้งสองแล้วได้ทราบข่าวกิตติศัพท์เล่าลือว่าที่ "วัดบางมด" เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร "หลวงพ่อโอภาสี" (พระมหาชวน) ได้อบรมแนะนำสั่งสอนพระกัมมัฎฐาน ได้มีผู้สนใจเข้าไปสมัครเป็นศิษย์กันมาก หลวงพ่อจึงได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์ จะเป็นด้วยบุญบารมีที่เคยได้ร่วมกันมาแต่อดีตหรืออย่างไรไม่ทราบ หลวงพ่อโอภาสี เมื่อได้ทราบเจตนาดังนั้น ยินดีต้อนรับและสั่งให้พระจัดสถานที่ให้ ธรรมมะที่หลวงพ่อโอภาสี แนะนำสั่งสอนท่านจะเน้นให้ตัดทุกสิ่งทุกอย่าง ให้ปล่อยวาง อย่ายึดถือ โดยเฉพาะศัตรูสำคัญคือขันธ์ ๕ ให้พิจารณาแยกออกเป็นธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ให้เห็นแจ้งชัด ละอุปาทานที่มีอยู่ เมื่อพิจารณาเห็นจริงดังกล่าวแล้วความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่มีอยู่จะเบาบางไป สัจจะคือความจริงได้แก่อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความเป็นทุกข์ และอนัตตา ความไม่มีตัวตนก็จะปรากฏขึ้น ได้อยู่ศึกษาและปฏิบัติกับหลวงพ่อโอภาสี ท่านได้เล่าประสบการณ์ต่างๆ ที่ท่านได้ผจญมา และบอกว่ายังมีอาจารย์เก่งๆ และดีๆ อีกเยอะในเมืองไทยได้อยู่รับใช้และศึกษาปฏิบัติกับหลวงพ่อโอภาสีเป็นเวลา ๑ ปีเศษก็กราบลาเพื่อออกธุดงค์วัตรต่อไป เมื่อกราบลาหลวงพ่อโอภาสี จุดหมายปลายทางจะไปทางภาคเหนือก่อน เพราะได้ยินกิตติศัพท์ว่าทางภาคเหนือของประเทศไทยนี้ มีพระอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นจำนวนมาก ความไม่อิ่มในธรรม และใคร่จะได้ศึกษาปฏิบัติให้ยิ่งๆ ขึ้น พบอาจารย์ที่ไหนก็จะเข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาธรรมจากท่าน เจริญสมณะธรรม อาศัยอยู่ในป่าตามถ้ำ ตามหุบเขา ต่างๆ สิ่งแรกที่ได้รับคือ ความกลัวหมดไป ประการที่สอง ได้กายวิเวก ประการที่สาม จิตวิเวกจะเกิดขึ้นผลที่สุดนิรามิสสุขก็จะตามมา สถานที่ออกเดินธุดงค์วัตรอาทิเช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร อุตรดิตถ์นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ ได้ท่องเที่ยวเจริญสมณธรรมทางภาคเหนือเป็นเวลา ๒ ปีเศษก็คิดอยากจะเดินทางลงทางใต้บ้าง ทางภาคใต้มีภูมิประเทศอากาศและธรรมชาติสวยงาม ร่มรื่นเย็นสบายดีมาก ทิวทัศน์ชายทะเล ป่าเขาลำเนาไพรไม่แพ้ทางภาคเหนือ ได้เดินทางไปพักและเจริญสมณะธรรมตามที่ต่างๆ มีปัตตานี ยะลา นราธิวาส และย้อนกลับขึ้นมาที่สุราษฎร์ธานี ได้กราบนมัสการ "หลวงพ่อพุทธทาส" แห่งสวนโมกข์ และ "หลวงพ่อสงฆ์" วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย เมื่อเดินทางจากภาคใต้แล้ว ก็ใคร่อยากจะเดินทางไปทางทิศตะวันตก จุดหมายปลายทางคือจังหวัดกาญจนบุรี ตามกิตติศัพท์เล่าลือ ณ สถานที่นี้มีผู้แสวงหาสัจจะธรรม และความวิเวก และอาจารย์เก่งๆ ก็มีมาก ถ้าโอกาสดีอาจจะได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้ไม่มากก็น้อย ช่วงนี้นี่เองที่ชีวประวัติ "หลวงพ่อเปิ่น" ได้หายไป ทราบเพียงว่าท่านได้จาริกธุดงค์ข้ามขุนเขาตะนาวศรี เข้าสู่เมืองมะริด เข้าสู่บ้องตี้เซซาโว่เกริงกาเวีย ซึ่งป่าแถบนั้นเป็นป่าที่ซ่อนอาถรรพ์ลี้ลับนานาประการเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจากสัตว์ อันตรายจากสิ่งลี้ลับมนต์ดำแห่งป่า สิ่งเหล่านี้ไม่ทำให้หลวงพ่อเกิดความหวาดกลัวแต่ประการใด ตรงกันข้ามท่านกลับมุ่งความตั้งใจจะเข้าสู่แดนลี้ลับนี้ให้ได้ ณ ป่านี้นี่เองที่พระธุดงค์วัตรหายไปอย่างลึกลับ มีมามากแล้วจะเป็นด้วยไข้ป่า ผีป่า นางไม้ วิญญาณร้ายต่างๆ ที่สำคัญที่สุดคือสัตว์ร้ายนานาชนิด โดยเฉพาะ "เสือสมิง" ที่แห่งนี้จะมีตำนานเล่าขานกันมาตั้งแต่บรรพกาลของเสือร้ายที่สามารถกลับแปลงร่างเป็นมนุษย์ หรือมนุษย์ที่ศึกษาวิชาทางด้านนี้จนสามารถกลับกลายร่างของตนเองเป็นเสือสมิงไป และไม่ได้กลับร่างเป็นคนได้อีก เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงในสายวิชาเร้นลับวิชาหนึ่ง หลวงพ่อเปิ่นท่านไม่ได้ประหวั่นพรั่นพรึงในส่วนนี้เลยแม้แต่น้อย จะเป็นด้วยเพื่อจะทดลองวิชาที่ได้เล่าเรียนมาว่าจะขลังหรือศักดิ์สิทธิ์จริงหรือไม่ จิตของท่านสงบนิ่งไม่ได้กลัวอะไรเลยแม้แต่น้อย ช่วงนี้ข่าวคราวของท่านเงียบหายไปอย่างสนิท มีเพียงจากคำบอกเล่าของชาวบ้านว่าเจอท่านบ้าง ชาวเขา ชาวป่า พวกกะเหรี่ยง บอกว่าเจอท่าน และท่านได้ช่วยเหลือสงเคราะห์ชาวป่าชาวเขาเหล่านี้ กระทั่งปลายปี พ.ศ.๒๕๐๔ บ่ายแก่ของวันหนึ่ง พระธุดงค์วัยเกือบสี่สิบมาปักกลดอยู่ชายทุ่ง ใกล้กับวัดทุ่งนางหรอก อำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี พระธุดงค์องค์นี้ได้สร้างศรัทธาให้แก่ชาวบ้านอย่างมากมาย ทั้งปฏิปทาที่เคร่ง ทั้งสายวิชาพระเวท ทั้งยาสมุนไพรช่วยเหลือชาวบ้าน ยิ่งเกิดศรัทธาอันสูงสุดของชาวบ้านที่พุ่งตรงสู่พระธุดงค์รูปนี้ "หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ " คือองค์พระธุดงค์องค์นั้น ประจวบกับวัดทุ่งนางหลอก ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่มีเจ้าอาวาสมีเพียงพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่สองสามรูป จนจะกลายเป็นวัดร้างอยู่แล้ว ชาวบ้านจึงเห็นพ้องต้องกันว่าผู้ที่จะช่วยพัฒนาวัดทุ่งนาวัดนางหลอกให้กลับคืนมาอีกครั้ง คือองค์พระธุดงค์องค์นี้ จึงได้พร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อให้ช่วยพัฒนาวัดและเสนาสนะต่างๆ ให้ดีขึ้นเหมือนเดิมและให้หลวงพ่ออยู่เพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน เป็นที่พึ่งทางใจของพวกเขาต่อไป ด้วยความเมตตาธรรม และเห็นว่าพอจะช่วยได้ หลวงพ่อจึงรับนิมนต์จะช่วยเป็นผู้นำให้ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถของท่านทุกวิถีทาง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชาวบ้านทั้งหลายที่มีความเดือดร้อน เช่นวิชาแพทย์แผนโบราณ และพระคาถาอาคมต่างๆ ที่จำเป็นชาวบ้านทั้งหลายต่างมีความชื่นชมศรัทธาเลื่อมใสท่านมากยิ่งขึ้น เพียงระยะเวลาไม่นานที่หลวงพ่อมาสงเคราะห์ การกระทำและการพัฒนาวัดต่างก็ได้ให้ความร่วมมือสามัคคีดีมาก งานยากก็กลายเป็นงานง่าย เมื่อต่างก็ร่วมมือและมีความสามัคคีกันเช่นนี้ ในการพัฒนาวัดก็เจริญรุ่งเรืองไปอย่างรวดเร็ว แปลกหูแปลกตาทันตาเห็น เปรียบเหมือนเทวดามาโปรด จึงทำให้ชื่อเสียง "หลวงพ่อเปิ่น" เป็นที่เล่าลือของชาวบ้านกว้างขวางออกไป จากคำบอกเล่าปากต่อปาก ประจวบกับจริยาวัตรอันงดงามของท่าน มีวิชาแพทย์แผนโบราณ บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับทุกคนที่มีความเดือดร้อน รวมทั้งมีวิชาอาคมที่เป็นเลิศ ภายในระยะเวลาไม่ถึง ๒ ปี วัดทุ่งนางหลอก อำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ในช่วงดังกล่าว ท่านเกิดป่วยกระทันหัน จำเป็นต้องเข้ามารักษาตัวในเมือง ท่านจึงได้กลับมารักษาตัวที่วัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ตั้งใจไว้ว่าเมื่อหายป่วยดีแล้วก็จะกลับไปพัฒนาส่วนอื่นที่จะต้องทำอีกต่อไป สู่วัดโคกเขมา เมื่อหายป่วยดีแล้วก็ตั้งใจจะกราบลาพระอาจารย์เพื่อเดินทางกลับไป ประจวบเหมาะกับที่ชาวบ้านวัดโคกเขมา มาขอพระจากพระอาจารย์เปลี่ยน ฐิตธัมโม ไปเป็นเจ้าอาวาสเพื่อพัฒนาวัด พระอาจารย์เปลี่ยน ท่านได้บอกชาวบ้านโคกเขมาว่า ดีแล้ว ศิษย์ของฉันเขาไปธุดงค์ เผอิญไม่สบายกลับมารักษาตัว หายดีแล้วก็จะกลับไปพัฒนาวัดทุ่งนางหลอก อำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรีอีก ฉันเองก็ไม่อยากจะให้เขาไปไกล คิดถึงเขา ฉันจะให้เขาไปช่วยพัฒนาวัดโคกเขมาให้รับรองว่าไม่ผิดหวัง ศิษย์โปรดของ "หลวงพ่อหิ่ม" ชาวบ้านเมื่อได้ทราบเช่นนั้น พากันปลื้มอกปลื้มใจไม่ผิดหวังแน่นอน กิตติศัพท์ "หลวงพ่อหิ่ม" ก็เป็นที่รู้ๆ กันอยู่แล้วว่าแน่แค่ไหน จึงกราบอาราธนาให้ท่านไปช่วยสงเคราะห์พัฒนาด้วย ท่านก็ยินดีรับด้วยความเต็มใจ เพื่อฉลองพระคุณของพระอาจารย์ที่ได้ช่วยเหลือมาตลอด คณะสงฆ์ในตำบลแหลมบัว ออกประกาศและแต่งตั้งให้ "หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ" เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙ และนี่เป็นจุดแห่งบุญญาบารมีและชื่อเสียงของ "หลวงพ่อเปิ่น" เมื่อเข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา หลวงพ่อได้เริ่มพัฒนาวัด ก่อสร้างเสนาสนะ ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระอุโบสถทุกอย่างเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เกิดด้วยแรงศรัทธาของประชาชนที่มีต่อ "หลวงพ่อ" ในเวลานั้น และที่วัดโคกเขมานี่เอง "หลวงพ่อ" ได้สร้างพระเครื่องเป็นครั้งแรก ปัจจุบันพระเครื่องรุ่นนี้ของวัดโคกเขมาหายากมาก เพราะเป็นพระเครื่องที่มีประสบการณ์ สร้างอภินิหาริย์ให้ผู้เช่าบูชาได้ประจักษ์ หลังจากรุ่นรูปหล่อเนื้อทองแดงของท่านแล้ว พระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆ จากวัดโคกเขมาจึงออกมาอีก เพื่อให้ศิษย์และประชาชนทั่วไปได้เช่าหาบูชากัน เพื่อนำเงินบำรุงพัฒนาวัด ที่วัดโคกเขมา หลวงพ่อออกพระเครื่องทั้งเนื้อผง (สมเด็จ) ทั้งรูปหล่อทั้งเหรียญพระบูชา (พระสังกัจจายน์) ทุกอย่างทุกองค์ที่หลวงพ่อสร้างมีค่ายิ่งสำหรับชาวบ้านที่รับไป ทางด้านการปฏิบัติธรรม ทางด้านไสยศาสตร์ หลวงพ่อถือเคร่งในวัตรปฏิบัติจนเป็นที่เลื่อมใสแก่ผู้ที่มากราบไหว้พบเห็น และนั่นเองเป็นสาเหตุที่ทำให้ชื่อหลวงพ่อขจรไกลไปทั่วแคว้น จึงไม่แปลกใจเลยว่าที่กุฏิหลวงพ่อมีศิษยานุศิษย์มากันเนืองแน่นโดยไม่ขาดสาย อีกอย่างที่กล่าวขานกันอย่างไม่มีวันจบสิ้น จวบจนปัจจุบันตั้งแต่วัดโคกเขมาเป็นต้นมานั้นคือ "การสักยันต์" แน่ละหากกล่าวถึง "หลวงพ่อเปิ่น" ในหมู่ของชายฉกรรจ์ตั้งแต่อดีตมา หากเป็นสมัยท่านแล้วละก็ต้องยกนิ้วให้กับหลวงพ่อในเรื่องไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถาที่ส่งลงสู่ร่างกายของชายชาตินักสู้ในรูปแบบเฉพาะของท่านเอง ทุกอย่างสมบูรณ์เพียบพร้อมถึงขนาดลงข่าวที่ว่าแม้สิ้นชีพไปแล้ว มีดผ่าตัดยังไม่สามารถเฉือนเนื้อลงได้เลย หลวงพ่อในสมัยที่ท่านยังมิได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ หลวงพ่อท่านลงมือสักลงอักขระเวทด้วยองค์ท่านเอง มาภายหลังหลวงพ่อได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการสักให้แก่ศิษย์เป็นองค์สักแทน แล้วหลวงพ่อเพียงทำพิธีครอบให้เท่านั้น เรื่องการสักของหลวงพ่อกล่าวเพียงบทสรุปว่าชอบ เสือ ด้วยเหตุผลที่บอกเพียงสั้นๆ แก่ศานุศิษย์ว่าเสือเป็นสัตว์ที่มีอำนาจ เพียงเสียงคำรามของเสือ สัตว์ทั้งหลายก็สงบเงียบ กลิ่นของเสือสัตว์ทั้งหลายเมื่อรับสัมผัสจะยอมในทันที หลีกทันก็ต้องหลีกจัดอยู่ในมหาอำนาจ เสือรูปร่างสง่างาม เต็มไปด้วยอำนาจบารมี จัดอยู่ในมหานิยม ที่สำคัญ"หลวงพ่อ" เคยประจันหน้ากับเสือมาแล้ว กลางป่าลึก ระหว่างธุดงค์วัตรแถวป่าใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี จึงเกิดความประทับใจตั้งแต่นั้นมา ช่วงที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา อันเป็นเวลาที่เจริญรุดหน้าขึ้นอย่างสูง ในส่วนของวัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เมื่อหลวงปู่หิ่ม อินฺทโชโต มรณภาพลงและหลวงพ่อเปิ่นออกจาริกแสวงธรรม ทางวัดบางพระเงียบเหงาลง ต่อมา "หลวงพ่อทองอยู่ ปทุมรัตน์" พระกรรมวาจาจารย์ของหลวงพ่อเปิ่นได้เป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงปู่หิ่ม จนมรณภาพลงในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เจ้าอาวาสวัดบางพระ จึงว่างลง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกัน ไปกราบอาราธนาหลวงพ่อเปิ่นให้กลับมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางพระ ซึ่งในตอนแรกหลวงพ่อไม่ยอมมาด้วยสาเหตุว่าไม่มีใครดูแลวัดโคกเขมา ซึ่งเป็นเหมือนกับวัดที่ท่านสร้างขึ้นมาใหม่ ภาระและความรับผิดชอบยังอยู่ที่ท่าน ในส่วนของญาติโยมชาวโคกเขมานั้น เคารพรักให้ลวงพ่อเป็นอย่างมาก เพราะเปรียบเทียบเสมือนว่าตัวท่านเป็นน้ำทิพชโลมใจ ท่านเป็นศูนย์รวมพลังศรัทธา เป็นพระนักพัฒนาที่สร้างแต่ความเจริญรุ่งเรือง ญาติโยมฝ่ายวัดบางพระ ก็ไม่ได้สิ้นความพยายาม เพียรกราบอาราธนาให้ท่านกลับมาพัฒนาวัดบ้านเกิดของท่านเอง ให้กลับคืนเหมือนเดิม เพราะชาวบ้านทั้งหลายได้ร่วมพิจารณากันแล้วนอกจากท่านแล้วไม่มีใครที่จะทำ ให้วัดกลับมาเป็นดังเดิมได้ วัดบางพระมีแต่จะทรุดโทรมลงไปเรื่อย ๆ ผลที่สุดท่านก็ยอมที่จะมา แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องหาพระมาดูแลวัดโคกเขมาให้ได้ก่อน ท่านจึงจะยอมกลับวัดบางพระ ในครั้งนั้นกล่าวกันว่าชาววัดโคกเขมา เมื่อทราบว่าหลวงพ่อท่านจะต้องกลับไปพัฒนาวัดบางพระซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน เสียดายก็เสียดายทำอย่างไรได้เมื่อเหตุมันเกิดก็ต้องยอมแต่ยังอุ่นใจอยู่ว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นไปกราบปรึกษาหารือท่าน ก็คิดว่าจะได้รับคำแนะนำที่ดีมีประโยชน์ บางทีท่านอาจจะลงมือมาช่วยได้อีก ในที่สุดหลวงพ่อท่านก็กลับมาพัฒนาวัดบางพระ สมเจตนาของชาวบ้าน นั่นคือการจบชีวิตการธุดงค์ของหลวงพ่อเปิ่น ถนนแห่งชายฉกรรจ์ผู้มีเลือดนักสู้ในหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร หรือ ผู้ที่ทำงานเสี่ยงกับอันตรายนานาประการ ต่างก็มุ่งตรงยังวัดบางพระ เพื่อนำวัตถุมงคลที่หลวงพ่อประสิทธิ์ประสาทไว้กับตัวเอง ด้วยเหตุนี้เองเท่ากับเป็นการนำพาความเจริญทั้งหลายมาสู่ถิ่นตามลำดับจนถึงปัจจุบัน หลวงพ่อเข้ารับภาระในวัดบางพระเวลานั้นนับเนื่องแล้วเป็นการพัฒนาที่หนักเอาการ ก่อนอื่นจัดระเบียบของวัดให้เข้าที่เข้าทางเสียก่อน ได้แก่การจัดเขตพุทธาวาส และสังฆาวาสให้อยู่เป็นสัดส่วน เพราะเท่าที่เป็นอยู่ในเวลานั่น เขตพุทธาวาสและสังฆาวาสยังคละเคล้าปะปนกันอยู่ ไม่เป็นที่เจริญตาเจริญใจแก่ผู้มาพบเห็น หลังจากได้วางโครงการเรียบร้อยแล้ว ให้เอาเขตสังฆาวาสทั้งหมดไปรวมอยู่ทางด้านหลัง ส่วนข้างหน้าให้เป็นเขตพุทธาวาสได้แก่ โบสถ์ ศาลาการเปรียญ มณฑปพระพุทธบาท มณฑปบูรพาจารย์ ฯลฯ เป็นต้น ใน วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒๓ แห่งกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๐๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ จึงแต่งตั้งให้ พระใบฎีกาเปิ่น ฉายา ฐิตคุโณ อายุ ๕๓ พรรษา ๒๗ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีหน้าที่และอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยมี เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม ประทับตราประจำตำแหน่ง หลังจากได้วางโครงการแยกแยะส่วนต่างๆ แล้วหลวงพ่อได้ย้ายและสร้างกุฏิสงฆ์ เพื่อให้พอกับพระที่อยู่จำพรรษา และพัฒนาวัดมาโดยตลอดอย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยการพัฒนาวัด และพร้อมด้วยจริยาวัตรอันงดงาม ปลูกศรัทธาปสาทะของผู้พบเห็น บำเพ็ญในสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาอย่างสูง และด้วยการที่ไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ ทางคณะสงฆ์และทางราชการเห็นความสำคัญ จึงได้ประกาศเกียรติคุณความดีให้ปรากฏเป็นอนุสรณ์ตลอดมา ในวันที่ ๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓ ให้พระฎีกาเปิ่น วัดบางพระ จังหวัดนครปฐม เป็น "พระครูฐาปนกิจสุนทร" ช่วง นี้นี้เองที่วัดมีการออกพระเครื่องและวัตถุมงคล เพื่อทดแทนในน้ำใจแห่งศรัทธาที่ศิษยานุศิษย์และชาวบ้านได้ร่วมกันในการพัฒนา วัดบางพระนั่นเอง ในวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗ หลวงพ่อท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์จาก พระครูฐาปนกิจสุนทร เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ เป็น "พระอุดมประชานาถ" ด้วยการพัฒนาวัดและชุมชนมาโดยตลอด ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์โดยอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ถวายปริญญาบัตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมศาสตร์ ณ วันที่ ๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๘ แก่องค์หลวงพ่อ แสดงให้เห็นว่าหลวงพ่อได้เป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ของประชาชนโดยแท้ ท่านไม่ทิ้งธุระทางการศึกษา พัฒนาสาธารณะประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาไว้มากเพื่อเป็นแนวทางแก่พระภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนา หลวงพ่อท่านได้มองถึงประโยชน์ของการศึกษาถึงวัฒนธรรมความเจริญของท้องถิ่นแห่งนี้เมื่อสมัยก่อน ในการที่จะพัฒนาบุคคลให้มีความรู้คู่คุณธรรมและมีจิตสำนึกรักภูมิลำเนาของตน โดยที่ท่านได้วางการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่ตั้งใจจะสร้างไว้นานแล้ว เพื่อเป็นที่รวบรวมภูมิปัญญาชาวบ้าน และของเก่าแก่ของแถบลุ่มน้ำนครชัยศรี บริเวณตำบลบางแก้วฟ้านี้ ที่เมื่อครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งที่มีการติดต่อค้าขายกัน มีชาวบ้านอยู่มากมาย เป็นแหล่งรวมสรรพวิชาความรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งในบริเวณนี้ ซึ่งสามารถดูได้จากโบสถ์เก่าสมัยอยุธยาตอนปลาย เรือสำเภาโบราณที่มีเจดีย์เล็กๆ บนเรือนั้น ส่วนวิชาความรู้ต่างๆ ในสายพระเวทคาถา ท่านเองได้ศึกษามามากจากหลวงปู่หิ่ม (พระอุปัชฌาย์) หลวงพ่อโอภาสี หลวงพ่อแดงวัดทุ่งคอก หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เป็นต้น และออกฝึกปฏิบัติทางจิตตามแนวทางในพระพุทธศาสนาเพื่อให้รู้ถึงสภาวธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจิตของตน โดยปฏิบัติธุดงค์วัตรในสถานที่ต่างๆ ท่านเองเป็นตัวอย่างของพระนักศึกษาทั้งทางรูปธรรม และนามธรรมอย่างเห็นได้ชัด จนกระทั่งสามารถนำวิชาความรู้ต่างๆ มาช่วยเหลือชี้นำแนวทางและพัฒนาจิตใจแก่พุทธศาสนิกชนได้ หลวงพ่อเองเป็นผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเมตตาต่อผู้ที่มาหาท่าน รวมถึงสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณวัดบางพระ หลวงพ่อได้ฝากปริศนาธรรมต่างๆ โดยการปฏิบัติ และสร้างสิ่งต่างๆ ให้เห็นทั้งรูปธรรม นามธรรม หลายต่อหลายอย่างซึ่งปรากฏแก่ผู้ที่ใกล้ชิดท่าน อันพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งได้ระลึกเสมอว่าสังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาได้ยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ตามพระวาจาที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ครั้งสุดท้าย หลวงพ่อมีศีล และจริยวัตรอันงดงาม ในขณะที่ธาตุสี่ ขันธ์ห้ายังประชุมอยู่ ถือได้ว่าเป็นพระแท้ที่หาได้ยากในยุคนี้ ในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕ เวลา ๑๐.๕๕ น. ณ โรงพยาบาลศิริราช หลวงพ่อได้ละสังขารด้วยอายุ ๗๙ ปี ๕๔ พรรษา ยังความอาลัย เศร้าโศก เสียใจแก่ปุถุชนจิต แต่ได้แสดงให้เห็นถึงมรณัสสติแก่ศิษยานุศิษย์ คุณงามความดีที่ท่านได้กระทำไว้ในพระพุทธศาสนามากมาย จะเป็นตำนานแห่งแผ่นดินไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม เป็นเครื่องเตือนสติให้พุทธศาสนิกชนได้รู้จักและปฏิบัติสืบสานกันต่อไป ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.bp.or.th ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2018-01-22 16:08:04
รูปหล่ออุดกริ่งหลวงพ่อจิ๊ พุทธสโร วัดโบสถ์สมพรชัย รุ่น 1 จ.อยุธยา เนื้อทองแดงรมดำ
รูปหล่ออุดกริ่งหลวงพ่อจิ๊ พุทธสโร วัดโบสถ์สมพรชัย รุ่น 1 จ.อยุธยา เนื้อทองแดงรมดำ รายละเอียดรูปหล่ออุดกริ่งหลวงพ่อจิ๊ พุทธสโร วัดโบสถ์สมพรชัย รุ่น 1 จ.อยุธยา เนื้อทองแดงรมดำ ขนาดความกว้างฐาน 1.3 ซม. ความสูง 2.3 ซม.ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2018-01-22 16:01:38
รูปเหมือนลอยองค์ รุ่นแรกหลวงพ่อโบ วัดโคกบางชะนี ใต้ฐานอุดผง สภาพสวยเดิมๆ ครับ
รูปเหมือนลอยองค์ รุ่นแรกหลวงพ่อโบ วัดโคกบางชะนี ใต้ฐานอุดผง สภาพสวยเดิมๆ ครับ รายละเอียดรูปเหมือนลอยองค์ รุ่นแรกหลวงพ่อโบ วัดโคกบางชะนี อ.บางบาล อยุธยา ใต้ฐานอุดผง ขนาดฐานกว้าง 2.5 ซม. สูง 3.3 ซม.หลวงพ่อโบ ฐิติญาโณ วัดโคกหิรัญ (วัดโคกบางชะนี ) "เจ้าตำรับน้ำมนต์เดือด เมืองกรุงเก่า" สายวิชา "น้ำมนต์จินดามณี,ผงแป้งเสกผัดหน้า มหาเสน่ห์" สายเมตตา เมืองกรุงเก่า ถ้าหากเราจะพูดถึงสายเมตตามหานิยม ในอยุธยา เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่กล่าวถึง หลวงพ่อโบ วัดโคกหิรัญ (วัดโคกบางชนี) "เจ้าตำรับ น้ำมนต์เดือด เมืองกรุงเก่า" หลวงพ่อโบเป็นพระที่มีบารมีมาก เป็นเกจิดังในแถบอำเภอบางบาลในอดีต เป็นที่กล่าวขานของชาวบ้างทั้งใกล้และไกล ในระหว่างที่หลวงพ่อโบยังมีชีวิตอยู่จะเป็นที่ยำเกรงของผู้คนเป็นอย่างมาก สิ่งที่หลวงพ่อห้ามหรือสิ่งที่ไม่ดีในวัด ไม่มีผู้ใดกล้าที่จะกระทำ เพราะเชื่อกันว่าจะเป็นภัยมากับตนเอง ทั้งที่หลวงพ่อท่านเป็นพระที่มีเมตตากับทุกคน ไม่ว่าเป็นใครมาจากไหน ท่านจะสงเคราะห์ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ หลวงพ่อโบ ฐิติญาโณ นามเดิมของท่านคือ โบ นัยพิจารณ์ เป็นบุตรของพ่อเฮีย แม่ตุ่ม แซ่โค้ว อาชีพเดิมของบิดาท่านคือค้าขายข้าวทางเรือ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คนคือ ๑. นางจีน (สมรส) ภายหลังได้เสียชีวิต ๒. นางคำ ครองตนเป็นโสดตลอดชีวิต ๓. หลวงพ่อโบ ฐิติญาโณ หลวงพ่อโบ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ และได้อุปสมบทที่วัดโบสถ์ ต.บางบาล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับฉายาทางธรรมว่า " ฐิติญาโณ " ในระหว่างที่หลวงพ่อดำรงค์อยู่ในสมณะเพศนั้น นอกจากจะศึกษาด้านพระธรรมวินัยและได้ประพฤติปฏิบัติอยู่ใน ศีลาจารวัตรที่ดีงามแล้วท่านยังได้สนใจศึกษาสรรพวิทยาทางโลกอีกด้วย ซึ่งในเวลานั้นการแพทย์และสาธารณสุขยังไม่เจริญก้าวหน้าพอ มีผู้คนต้องล้มตายอันเนื่องมาจากการคลอดลูกบ้าง เป็นฝีในท้องบ้าง ซึ่งหลวงพ่อได้เห็นว่า วัดเท่านั้น ที่เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวของผู้คน ท่านจึงตระหนักในหน้าที่ในความเป็นสงฆ์ของตนดีและจะต้องเป็นที่พึ่งของชาวบ้านในยามทุกข์ยาก หลวงพ่อจึงได้เสาะแสวงหาตำรับตำรายาสมุนไพรโบราณต่างๆ ดังมีรายละเอียดดังนี้ ได้เรียนหมอยาโบราณจากสมุดข่อยกับ ปู่มา หาศักดิ์ศรี (ศิษย์หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ โยมปู่ของหลวงพ่อเจือ วัดโคกหิรัญ เจ้าอาวาสต่อจากท่าน) และได้เรียนปลุกเสกน้ำมนต์ทางคลอดลูกง่าย และทางค้าขายกับครูศรี บ้านขนมจีน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ครูทิม จากจังหวัดสุโขทัย และครูแขก หลวงพ่อโบได้ใช้วิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา ประสานกับความเชื่อมั่นในตนเอง ได้ทำการช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้คนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจากปากต่อปาก ตาต่อตา และจากวงใกล้ไปสู่วงไกล จึงทำให้กิตติศัพท์ของหลวงพ่อโบได้ขจรขจายเป็นที่เลื่องลือ เรื่องราวทรายเสกหลวงพ่อโบ ครั้งหนึ่งลูกศิษย์ ของท่านถูกรังแก ก็มาฟ้องหลวงพ่อ ท่านเมตตาทำทรายเสกไปให้ บอกให้ไปโรยรอบบ้าน เสร็จแล้วก็รดน้ำมนต์ให้ไป ลูกศิษย์คนนี้ก็กลับไปก็เอาทรายไปโรยไว้รอบบ้านตามที่ท่านบอก ต่อมาไม่นานก็มีกลุ่มคนที่คอยข่มเหง จะทำร้ายเอาปืนมายิงถึงบ้านสรุปปืนระเบิดยิงไม่ออก คนร้ายก็ถอยกลับไป อยู่มาได้ไม่นานก็มาอีกที่นี้ตั้งใจจะมาทำร้ายถึงในตัวบ้าน เพราะไปยืนยิงนอกบ้านปืนยิงไม่ออก ก็เข้ามาจะทำร้ายถึงในตัวบ้าน ตอนเข้ามานั้นเป็นตอนมืดดึกสงัด ก็รอบเข้ามาในตัวบ้าน แต่ผลปรากฏว่าตอนเช้า เจ้าของบ้านตื่นมาเจอ พวกเดิมที่มาทำร้ายนอนอยู่ที่ใต้ถุนบ้าน โดยที่เจ้าของบ้านก็รู้ว่าพวกนี้มีเจตนาจะมาทำร้าย แต่ก็ถามไปว่า “มานอนทำไมที่นี้”แต่สิ่งที่ได้ยินคำตอบกลับมาคือ “หลงอยู่ในป่าหาทางออกไม่เจอ” เสร็จแล้วก็วิ่งกระเจิงหนีไปจากใต้ถุนบ้าน หลังจากนั้นพวกนี้ก็ไม่กลับอีกเลย อีกวิชาของท่าน คือ การทำผงแป้งผัดหน้า (เป็นผงที่ท่านใช้ทำพระ และใช้ผสมแป้งทาหน้า เวลาเข้าหาคน จะเป็นเมตตาชั้นสูง) เป็นเมตตา มหานิยม ซึ่งท่านใช้ผงนี้ใส่ในพระผงของท่าน เชื่อกันว่าใครได้ผงแป้ง หลวงพ่อโบ หรือมีพระผงหลวงพ่อโบ จะมีเมตตา มหานิยม เป็นที่รักใคร่ เมตตาของคนทั้งหลาย มนต์จินดามณี ศาสตร์วิชามนต์จินดามณี เป็นวิชาที่หลวงพ่อโบ ท่านจะใช้สำหรับทำน้ำมนต์ของท่าน (ส่วนผงแป้งผัดหน้า ท่านจะใช้ปลุกเสกด้วยมนต์ ขุนแผนชมตลาด) วิชาจินดามณี หลายท่านคงเคยได้ยินคุ้นหูสมัยเด็ก ในหนังสือวรรณคดีเรื่องเงาะป่า เป็นวิชาที่เอามาจากเรื่องจริง ที่ครูบาอาจารย์สืบทอดวิชากันมา เป็นวิชาทางมหาลาภ เรียกคน เรียกเงิน เรียกทอง ทรัพย์สิน หรือที่คนโบราณ เรียกกันว่า "...วิชาต่อลำไส้..." มีกินมีใช้ไม่มีหมด ไม่อดตาย ซึ่งส่วนใหญ่ในสมัยก่อน จะสืบทอดกันในสายฆราวาสเป็นส่วนใหญ่ ถูกจริตกับฆราวาส เพราะเกี่ยวกับเรียกเงิน เรียกทอง เรียกคน เรียกของ เป็นวิชาให้คุณทางด้านโภคทรัพย์ ลูกศิษย์ของหลวงพ่อโบ จะเป็นพวกธุรกิจ ค้าขาย เจ้าสัว นายห้าง เถ้าแก่โรงสี พ่อค้าแม่ขาย น้ำมนต์จินดามณีของท่าน ทำให้พ่อค้า แม่ค้าธรรมดาๆ รวยเป็นเศรษฐี เป็นเจ้าสัว มานัก ต่อนักแล้ว แต่สายบู๊ อย่าง ทหาร ตำรวจ ก็เป็นลูกศิษย์ของท่านเยอะ ตำรวจแถบป่าโมก อ่างทอง สมัยก่อน ลูกศิษย์หลวงพ่อโบ ทั้งนั้น ถ้าลองไปถามจะรู้ว่าเจอประสบการณ์กันเยอะ ชาวบ้านแถวป่าโมก นับถือท่านกันมาก เพราะวัดท่านเป็นเขตติดต่อ บางบาล-อยุธยา กับ ป่าโมก-อ่างทอง ชาวบ้านเขตโซนแถบนี้จะขึ้นกับท่านทั้งนั้น คนอ่างทอง (ป่าโมก) บางบ้านมีพระเครื่องของท่าน มากกว่าพระของอ่างทอง พระท้องถิ่นอีก ชาวบ้านแถววัดสมัยก่อน หรือชาวเรือที่ใช้น่านน้ำเจ้าพระยา ผ่านแถววัดโคกหิรัญ ในการสัญจรไปมา (สมัยก่อนนิยมใช้เรือเดินทาง) เวลาใครจะล่องเรือผ่านหน้าวัดจะต้องหันหน้าไปทางกุฏิหลวงพ่อโบ พนมมือยกมือไหว้ พร้อมวักน้ำหน้าวัดมารดหัวเรือ ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวบ้านแถบนั้นในสมัยก่อน ชาวบ้านจะนับถือท่านมาก ช่วงก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ชาวบ้านต่างพากันไปนิมนต์ท่านให้มาทำน้ำมนต์กันทุกบ้าน บางบ้านขอให้ท่านทำน้ำมนต์เก็บไว้เป็นโอ่งๆ เพราะชาวบ้านต่างนับถือในคุณวิเศษน้ำมนต์ของท่านมาก กลัวว่าวันหนึ่งหากท่านไม่อยู่จะไม่มีน้ำมนต์ของท่านไว้ใช้ บางบ้านทุกวันนี้ก็ยังเหลือน้ำมนต์ของท่านอยู่ก็มี เพราะขอให้ท่านทำให้หลายโอ่งมาก เก็บไว้เป็นตุ่มๆ เลย เก็บไว้กันอย่างดี จนชาวอยุธยา ตั้งสมญาให้ว่า “เจ้าตำรับน้ำมนต์เดือด เมืองกรุงเก่า” หลวงพ่อโบ ท่านได้ละสังขารไปเมื่อคืนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๙ สิริรวมอายุได้ ๘๓ ปี ซึ่งยังความเศร้าโศกเสียใจให้กับพุทธศาสนิกชนที่เคารพนับถือเป็นอย่างมาก ปัจจุบันทางวัดได้จัดสร้างรูปเหมือนของท่านและได้ประดิษฐานอยู่บนมณฑปบริเวณใจกลางวัดโคกหิรัญ ให้ผู้ที่เคารพนับถือ ได้เข้าไปสักการะบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลได้ทุกวัน หลวงพ่อโบ ท่านเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อโก๊ะ วัดเก้าห้อง , หลวงพ่อเจือ วัดโคกหิรัญ ที่มา : พระเกจิอยุธยา/และขอบคุณเว็บไซต์ http://nanasara999.blogspot.com ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2018-01-22 11:25:00
รูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก หลวงพ่อศิริ สิริวฒฺโน วัดตาล จ.นนทบุรี สภาพสวยมากครับ
รูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก หลวงพ่อศิริ สิริวฒฺโน วัดตาล จ.นนทบุรี สภาพสวยมากครับ รายละเอียดรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก หลวงพ่อศิริ สิริวฒฺโน วัดตาล อ. ปากเกร็ด จ.นนทบุรี อุดกริ่ง ขนาดความกว้างฐาน 2.1 ซม. ความสูง 2.7 ซม.หลวงพ่อสิริ สิริวฒฺโน พระผู้เปี่ยมด้วยเมตตาบารมีธรรม แห่งวัดตาล หลวงพ่อสิริ สิริวฒฺโน พระผู้เปี่ยมด้วยเมตตาบารมีธรรม แห่งวัดตาล ต.บางตะไนย์ อ.ปากเกร็ด ท่านเกิดในสกุล แก้วกาญจน์ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 เป็นคนไทยเชื้อสายรามัญ ณ บ้านบางตะไนย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นบุตรชายของนายเต๊ะ กับ นางนาค แก้วกาญจน์ บิดามีอาชีพช่างไม้ มารดามีอาชีพทำนา ในวัยเยาว์โยมบิดามารดาได้พาท่านมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์วัดคอยปรนนิบัติรับใช้พระสงฆ์ภายในวัดตาล ทำให้ท่านมีความผูกพันกับวัด ชอบศึกษาอ่านตำราทางพระพุทธศาสนา และนั่งสมาธิปฏิบัติธรรม เมื่ออายุได้ 14 ปี จึงบวชเป็นสามเณร หลังจากบวชเป็นสามเณรได้เพียง 1 ปี มีเรื่องน่าประหลาดกล่าวคือ "หลวงพ่อโอภาสี" ซึ่งเป็นพระเกจิที่มีฌานสมาบัติสูงรูปหนึ่งในยุคนั้นได้ให้ลูกศิษย์พายเรือ เอาธงชาติผืนใหญ่มาฝากไว้ให้สามเณรสิริ เป็นเวลา 7 วัน ในธงชาตินั้นเขียนยันต์ล้อมรอบ เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจต่อผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ยิ่งนักว่าทำไมหลวงพ่อโอภาสีจึงให้ความสำคัญกับสามเณรสิริ ซึ่งบวชเป็นสามเณรได้เพียงแค่ 1 ปี ถึงขนาดนี้ และในขณะที่บวชเณรอยู่นั้น ท่านได้ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนเกิดความเชี่ยวชาญ จนทำให้ชาวบ้านและประชาชนต่างถิ่นมาสมัครขอเป็นศิษย์จำนวนมาก ว่ากันว่าน้ำมนต์ของท่านมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ขนาดที่ว่าจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยังเคยมาอาบน้ำมนต์กับท่านที่วัดด้วย ครั้นเมื่ออายุครบ 20 ปี จึงเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุโบสถวัดตาล เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2504 โดยมีท่านเจ้าคุณพระอริยธัชเถระ วัดสวนมะม่วง จ.ปทุมธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการเปลือย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดกัณหา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และได้รับฉายาว่า "สิริวัฑฒโน" ด้วยความที่หลวงพ่อสิริ มีความสนใจในการศึกษาทางด้านพุทธาคมตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณร เมื่อได้อุปสมบทแล้วท่านจึงได้กราบขอฝากตัวเป็นศิษย์กับท่านเจ้าคุณพระอริยธัชเถระ ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์สายตรงของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อสิริจึงมีโอกาสได้ศึกษาพุทธาคมสายวิชาของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า รวมทั้งศึกษาทางด้านวิปัสนากรรมฐาน และวิทยาคมต่างๆ อย่างลึกซึ้งจนมีความแตกฉานในหลายด้าน ด้านศาสนกิจถือได้ว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ซึ่งมากด้วยเมตตา คอยให้การอุปถัมภ์กิจกรรมของคณะสงฆ์ภายในวัดตาล และวัดวาอารามต่างๆ ที่มาขอความเมตตาจากท่าน หรือท่านพิจารณาแล้วว่ามีเจตนาดีบริสุทธิ์เป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนา เห็นควรที่จะให้การอุปถัมภ์ ท่านก็จะเมตตาช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังความสามารถทุกครั้งไป หลวงพ่อสิริ สิริวฒฺโน เป็นพระสุปฏิปันโน เป็นพระแท้ที่น่าเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ชื่อเสียงของหลวงพ่อสิริโด่งดังมานาน และเป็นที่กล่าวขวัญในหมู่ศิษย์ชาวปากเกร็ด และชาวเมืองนนท์เป็นอย่างยิ่ง ถึงความขลังความศักดิ์สิทธิ์ และจริยวัตรของหลวงพ่อ ทำให้ท่านได้รับกิจนิมนต์ไปนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลในพื้นที่ภาคตะวันออก และพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลสำคัญทั่วประเทศ สำหรับวัตถุมงคลของท่านที่มีประสบการณ์ และกล่าวขวัญกันถึงพุทธคุณ ประกอบด้วย - พระกริ่ง พระชัยวัฒน์สิริโสฬส เนื้อนวโลหะก้นเงิน - รูปหล่อ รุ่นแรก เนื้อนวโลหะขนาด 1 เซนติเมตร - ล็อกเกตรุ่นแรก อุดผงวิเศษ และ เกศา โดยเฉพาะเนื้อโลหะที่นำมาใช้หล่อพระ ส่วนใหญ่เป็นเนื้อนวโลหะกลับดำผสมเต็มสูตร ผสมชนวนกริ่งวัดสุทัศน์-วัดบวรนิเวศ อาวุธโบราณ เงินพดด้วง เงินโบราณชนิดต่างๆ และตะกรุดเก่าอีกหลายร้อยดอก ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://mongkhonphra.blogspot.com (หนังสือพิมพ์พระออนไลน์ มงคลพระ) ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2018-01-22 11:16:31
รูปหล่อซุ้มสมเด็จโต วัดระฆัง ฯ รุ่น 108 ปี พ.ศ. 2523
รูปหล่อซุ้มสมเด็จโต วัดระฆัง ฯ รุ่น 108 ปี พ.ศ. 2523 รายละเอียดรูปหล่อซุ้มสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆังฯ รุ่นอนุสรณ์108 ปี ปี2523 กรุงเทพฯ ขนาดฐานกว้าง 1 ซม. สูง 2.5 ซม.ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2018-01-22 11:12:40
รูปหล่อเล็กหลวงปู่เต็ม ปี 2532 วัดนิมมานรดี บางแค กรุงเทพฯ
รูปหล่อเล็กหลวงปู่เต็ม ปี 2532 วัดนิมมานรดี บางแค กรุงเทพฯ รายละเอียดรูปหล่อเล็กหลวงปู่เต็ม ปี 2532 วัดนิมมานรดี บางแค กรุงเทพฯ ขนาดความกว้างฐาน 1 ซม. สูง 1.5 ซม.ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2018-01-19 10:55:17
รูปหล่อหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี รุ่นฉลองอายุ 80 ปี ปี 2530 ตอกโค๊ต สภาพสวย องค์ที่ 1
รูปหล่อหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี รุ่นฉลองอายุ 80 ปี ปี 2530 ตอกโค๊ต สภาพสวย องค์ที่ 1 รายละเอียดรูปหล่อรุ่นนี้เป็นรุ่นสุดท้าย หลวงพ่อปลุกเสกเดี่ยวให้ก่อนมรณภาพ ในต้นปี พ.ศ. 2530 รูปหล่อหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี รุ่น 80 ปี นั่งถือประคำ ใต้ฐานตอกโค๊ตนะมหาเศรษฐี ขนาดความกว้างฐาน 1.3 ซม. สูง 2.3 ซม.ประวัติ หลว งพ่อเนื่อง โกวิโท (พระครูโกวิทสมุทรคุณ) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม ตามประวัติโดยสังเขป หลวงพ่อเนื่อง ชื่อเดิม เนื่อง เถาสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2452 ปีระกา เป็นบุตร นายถมยา - นางตาบ เกิดที่บ้านคลองใหญ่ หมู่ที่ 4 ต.แพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม จบการศึกษาชั้นประถม 4 จากโรงเรียนวัดบางกะพ้อม เมื่อ พ.ศ. 2463 ท่านได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2475 ณ อุโบสถวัดบางกะพ้อม ต.อัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โดยมี หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแช่ม โสฬส เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ปล้อง วัดบางกะพ้อม เป็นอนุสาวนาจารย์ การศึกษา ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดจุฬามณี เมื่อปี 2479 ขณะเดียวกันท่านก็มีความเชี่ยวชาญในทางวิปัสสนา และพุทธาคม เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยท่านได้อาจารย์ดีเป็นเบื้องต้น ตั้งแต่อุปสมบท ประกอบกับความตั้งใจมั่นในการศึกษา และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยได้ศึกษาจาก หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม พระเกจิอาจารย์ผู้โด่งดังของ จ.สมุทรสงคราม เจ้าของเหรียญ 1 ใน 5 ชุดเบญจภาคีเหรียญยอดนิยมของวงการพระเครื่องเมืองไทย นอกจากนี้หลวงพ่อเนื่อง ท่านยังได้เรียนวิชาอาคมต่างๆ จาก หลวงพ่อแช่ม เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี และ หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ผู้สร้างตำนาน ตะกรุดลูกอม อันลือลั่น ไล่เรียงรายนามอาจารย์ของหลวงพ่อเนื่องแล้ว จึงไม่ต้องแปลกใจในความรู้ความสามารถ และความเข้มขลังในสายพุทธาคม ที่หลวงพ่อเนื่องท่านได้สืบทอดมาจากพระเกจิอาจารย์ผู้แก่กล้าสามารถหลายท่านด้วยกัน หลวงพ่อเนื่อง เป็นพระบริสุทธิ์สงฆ์ที่ชาวสมุทรสงคราม และจังหวัดใกล้เคียง มีความศรัทธาเลื่อมใสเป็นอันมาก รวมทั้งงานความสามารถในด้านงานพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองมาสู่วัดจุฬามณี และชุมชนท้องถิ่นมาโดยตลอด จนทำให้ท่านได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูโกวิทสมุทรคุณ เมื่อปี 2496 และเลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาคันธุระ เมื่อปี 2517 ในราชทินนามเดิม วัดจุฬามณี เป็นวัดโบราณสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นระหว่างปี 2172-2190 ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง เดิมชื่อ วัดแม่เจ้าทิพย์ เป็นวัดที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับราชวงศ์จักรี ฝ่ายราชนิกูล (ตระกูลบางช้าง) โดยเดิมกุฏิและอุโบสถล้วนสร้างจากไม้สัก ซึ่งย่อมผุพังและเสื่อมโทรมไปตามกาล ก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในสภาพคงทนแข็งแรง และมีความสวยงามยิ่งขึ้น ก็ด้วยความสามารถของหลวงพ่อเนื่องอย่างแท้จริง วัดจุฬามณี มีเจ้าอาวาสปกครอง เท่าที่สืบได้ ดังนี้ 1.พระอธิการยืน 2.พระอธิการเนียม 3.พระอาจารย์แป๊ะ 4.พระอาจารย์ปาน 5.หลวงพ่ออ่วม 6.พระอาจารย์นุ่ม 7.หลวงพ่อแช่ม 8.หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท และ 9. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (พระอาจารย์ อิฏฐ์ ภทฺทจาโร) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน หลวงพ่อเนื่อง ได้ดูแลบูรณปฏิสังขรณ์วัดจุฬามณี จนเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรือง และมีความสมบูรณ์ในทุกด้าน โดยเฉพาะอุโบสถจตุรมุข หินอ่อน 3 ชั้น กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร สูง 10 เมตร มูลค่าการก่อสร้างนับสิบล้านบาท ซึ่งได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2511 โดย สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (จวน อุฏฐายี) เสด็จทรงประกอบพิธี เมื่อต้นปี 2530 หลวงพ่อเนื่องเริ่มมีอาการอาพาธ จนกระทั่งในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2530 เวลา 06.20 น. ท่านก็ได้ละสังขาร มรณภาพอย่างสงบที่โรงพยาบาลสมิติเวช สิริรวมอายุ 78 ปี 56 พรรษา ยังความโศกเศร้าเสียใจ แก่ศิษยานุศิษย์เป็นอันมาก ทิ้งไว้แต่หลักคำสอน วัตถุมงคล และผลงานการก่อสร้างวัดจุฬามณี ที่มีความสวยงาม และร่มรื่นจนทุกวันนี้ และเรื่องที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่งก็คือ สรีระของ"หลวงพ่อเนื่อง"ท่าน กลับไม่เน่าเปื่อยแต่อย่างใด คงอยู่ในสภาพเดิมๆ ภายในหีบแก้ว บนมณฑป ที่ทางวัดและศิษยานุศิษย์ร่วมกันจัดสร้างขึ้นมาอย่างงดงามยิ่ง ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.tumsrivichai.com ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2018-01-19 10:52:02
รูปหล่อหลวงพ่อขวัญ ปวโร หรือ พระครูพิมลธรรมานุศิษฐ์ วัดบ้านไร่ จ.พิจิตร ทองแดงอุดกริ่ง
รูปหล่อหลวงพ่อขวัญ ปวโร หรือ พระครูพิมลธรรมานุศิษฐ์ วัดบ้านไร่ จ.พิจิตร ทองแดงอุดกริ่ง รายละเอียดรูปหล่อกริ่ง องค์จิ๋ว พระครูพิมลธรรมานุสิษฐ์ หลวงพ่อขวัญ ปวโร วัดบ้านไร่ (วัดเทพสิทธิการาม) อ.สามง่าม จ.พิจิตร ขนาดฐานกว้าง 1 ซม. สูง 1.8 ซม.ประวัติหลวงพ่อขวัญ ปวโณ วัดบ้านไร่ จ.พิจิตร (เจ้าตำรับแหวนตระกร้ออันลือลั่น) หลวงพ่อขวัญ หรือ พระครูพิมลธรรมานุศิษฐ์ เดิมชื่อ ขวัญ หมอกมืด เกิดเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2451 ที่บ้านไร่ ตำบลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2470 เดือน 4 แรม 8 ค่ำ ที่วัดบ้านนา ตำบลบ้านนา อำเภอสามง่าม (ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอวชิรบารมี) ท่านเป็นพระนักพัฒนาและพระนักก่อสร้าง ท่านให้ความช่วยเหลือสังคมโดยการบริจาคทรัพย์ในการก่อสร้างที่ศาสนสถาน สถานศึกษา โรงพยาบาล และหน่วยงานทางราชการต่าง ๆ โดยท่านได้สร้างวัตถุมงคลให้ไว้เป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมบริจาคสมทบ ได้แก่ พระสมเด็จเพชรหลีก ตะกรุด และที่นิยมโดยทั่วไป ได้แก่ แหวนพระพิรอด แต่คนส่วนมากมักจะเรียกว่า แหวนตะกร้อ ท่านละสังขารเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 รวมสิริอายุได้ 97 ปี พระเถระผู้ใหญ่พูดถึงหลวงปู่ขวัญคำพูดที่ฮือฮามากในช่วงนั้น (20 กว่าปีมาแล้ว) คือคำพูดของหลวงพ่อเกษม เขมโก ที่คนพิจิตรมักจะพูดถึงคือ มีคนพิจิตรไปกราบหลวงพ่อเกษมแล้วหลวงพ่อเกษมพูดว่า "มาทำไมถึงที่นี่ ที่พิจิตรก็มีหลวงพ่อขวัญ" ประโยคนี้แม้แต่ "คุณฉวีวรรณ ขจรประศาสน์" ภริยาท่านพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ยังเคยพูดกับผมในช่วงนั้นเลย ซึ่งช่วงนั้นเสธฯ หนั่นกำลังเป็น ม.ท.1 ด้วย คุณฉวีวรรณเล่าให้ผมฟังว่า "ป้าได้ไปกราบหลวงพ่อขวัญมาแล้ว ไปเช่าแหวนท่านมาด้วย หลวงพ่อเกษมยังบอกให้ไปกราบหลวงพ่อขวัญเลย" (ผมเพิ่มเติมว่าหลวงพ่อขวัญท่านเคยไปเรียนวิชาทำน้ำมันสมุนไพรคุณพระรักษา ที่ จ.ลำปาง ครับ) ครั้งหนึ่งมีพิธีปลุกเสกพระหลวงพ่อเงิน ที่วัดบางคลาน ผมมีโอกาสได้รับ-ส่งหลวงพ่ออุตตมะจากสนามบินพิษณุโลกและวัดบางคลาน (ทำให้มีบุญได้พาหลวงพ่อมาพักผ่อนที่บ้านหลังเสร็จพิธีด้วย) ในครั้งนั้นผมจึงถวายแหวนหลวงพ่อขวัญเป็นที่ระลึกกับหลวงพ่ออุตตมะด้วย หลังจากนั้นผมได้ไปกราบหลวงพ่ออุตตมะที่พุทธมณฑลสาย 2 หลวงพ่อหยิบแหวนหลวงพ่อขวัญแล้วพูดกับผมว่า "ของดีนะ" แล้วท่านก็เอาแหวนของหลวงพ่อขวัญมอบให้กับลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดกับท่าน โดยใส่แหวนให้ที่นิ้วด้วยมือของหลวงพ่อเอง แต่ปรากฏว่าแหวนหลวมไป หลวงพ่อท่านก็หาด้ายมาพันที่ท้องวงแหวนให้ เมื่อหลวงพ่อพันด้ายเสร็จก็เอาแหวนมาใส่ให้ด้วยมือของท่านเองอีก คราวนี้ใส่ได้พอดี หลวงพ่ออุตตมะท่านยิ้มแล้วบอกว่า "ของดีนะใส่ติดตัวไว้นะ" แค่นี้ก็คงพอแล้วนะครับ แต่เท่าที่ทราบก็ยังมีครูบาอาจารย์อีกหลายองค์ที่พูดถึงหลวงปู่ขวัญอีก เช่น หลวงปู่ครูบาหล้าตาทิพย์, หลวงพ่อแพ, หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (หลวงพ่อท่านมอบข้าวตอกพระร่วงให้หลวงพ่อขวัญด้วย) แต่บังเอิญผมไม่มีข้อมูลอ้างอิงครับ ท่านที่มีข้อมูลตรงนี้กรุณาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ หลวงปู่ขวัญเล่าเรื่องตะกรุดหลวงปู่เล่าว่า "ฉันทำตะกรุด ฉันก็ทำไปตามตำรา มารู้ว่าเป็นจริงตามตำราก็เพราะว่ามีคนที่ฉันให้ตะกรุดเขาไปเขามาเล่าให้ฟัง ว่าเขาเป็นพัสดีคุมนักโทษแล้วมีเรื่องเกิดขึ้น คือนักโทษมันแหกคุกหนีออกมา เขาก็ไล่ตามจับ นักโทษมันมีปืนมันก็หันเอาปืนมายิงเขา เขาก็เอาปืนยิงไปที่นักโทษบ้าง ยิงกันไปยิงกันมาอยู่อย่างนั้นปรากฏว่าไม่มีใครโดนลูกปืนเลย" (ผมขอเสริมว่า ตะกรุดของหลวงปู่จะคลาดแคล้วทั้งสองฝ่าย เพื่อไม่ให้มีเวรมีกรรมต่อกัน) "มีคนคนหนึ่งคนนี้เขายิงปืนแม่นมาก เขาอยากลองตะกรุดของฉัน เขาจึงเอาตะกรุดไปผูกไว้ที่คอไก่แล้วก็ยิงไก่ ปรากฏว่าลูกปืนไปถูกเชือกที่ผูกตะกรุดขาด ตะกรุดจึงหล่นหายไปเลย หาเท่าไหร่ก็ไม่พบ ส่วนไก่ไม่เป็นอะไร เขามาเล่าให้ฉันฟังแล้วมาขอตะกรุดฉัน นอกจากฉันไม่ให้ตะกรุดเขาแล้วยังตำหนิเขาด้วย" หลวงปู่ขวัญเล่าเรื่องพระกริ่ง พระกริ่งของท่านที่ตัดรุ้งขาดได้หลวงปู่เล่าว่า "ฉันได้ตำราสร้างพระกริ่งปวเรศมาพระกริ่งนี้ตัดรุ้งขาดได้ ฉันจะสร้างพระกริ่ง" ผมได้ยินตอนนั้นหูผึ่งเลยติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดตลอด จนใกล้วันออกพรรษาหลวงปู่พูดกับผมว่า "ฝนมันตกแล้วแต่ยังไม่เห็นมีรุ้งสักที" ผมได้ฟังแล้วยินดีเป็นอย่างยิ่งที่หลวงปู่เมตตาพูดแบบนี้ให้ฟัง ผมรู้ว่าคืออะไร และไม่กล้าที่จะถามอะไรท่านต่อไป เรื่องพระกริ่งนี้ป้าเป้าซึ่งเป็นหลานหลวงปู่และเป็นคนจำหน่ายวัตถุมงคลให้กับวัดบอกว่าเป็นเรื่องแปลก เพราะว่าหลวงปู่ท่านกำหนดราคาพระกริ่งเองว่าให้จำหน่ายองค์ละ 1,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่แพงมากสำหรับหลวงปู่ เพราะขนาดพระที่จำหน่ายอยู่ราคาแค่ 50 บาท หลวงปู่ยังบ่นว่า "ทำไมไปเอาเขาแพงจัง" ปาฏิหาริย์หลวงพ่อขวัญ ผมได้คุยกับคนคนนี้เองเลย เขาชื่อสิบเอกสมพงษ์ ปัญญาพิมพ์ ตอนนั้นเป็นทหารอยู่ที่ลพบุรี เขามากราบขอบคุณหลวงปู่ ซึ่งได้ช่วยชีวิตเขาไว้โดยรายนี้เป็นพลร่มป่าหวาย ไปฝึกโดดร่มบังเอิญร่มขาดกลางอากาศร่วงลง ในตอนนั้นเขาไม่ได้ใส่อะไรนอกจากแหวนตะกร้อหลวงพ่อขวัญเท่านั้น เขาจึงเชื่อว่าหลวงพ่อขวัญเป็นผู้ช่วยชีวิตเขา ตอนนั้นเขาเพิ่งออกจากโรง พยาบาลกะโหลกเขายังไม่เต็มเลย ยังเห็นสมองเต้นตุบๆ ที่ศีรษะของเขา ผมถามว่าถ้าปรกติกรณีแบบนี้จะเป็นอย่างไร เขาบอกว่า "เอาปี๊ปเก็บเศษเนื้อของผมได้เลยครับ" รายละเอียดจาก คมชัดลึก นางมาลัย ปัญญาพิมพ์ อายุ 44 ปี อยู่บ้านเลขที่ 127/79 ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จ.พิษณุโลก เล่าถึงอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่ขวัญว่า เมื่อประมาณปี 2539 จ.ส.อ.สมพงษ์ ปัญญาพิมพ์ อายุ 41 ปี สามี ซึ่งเป็นทหารสังกัดกองทัพน้อยที่ 3 ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จ.พิษณุโลก ไปฝึกหลักสูตรเปลี่ยนแบบร่มที่ จ.ลพบุรี โดยขณะฝึกนั้นสามีโดดร่มลงมาจากเครื่องบิน และเมื่อมาถึงระยะ 5,500 ฟิต สามีกระชากร่ม แต่ร่มไม่กางออก แม้แต่ร่มช่วยก็ไม่ทำงาน "ตอนนั้นสามีบอกความรู้สึกได้เพียงว่า คงไม่รอดแน่ เนื่องจากระยะที่สูงมาก จึงเพียงนึกถึงหลวงปู่ขวัญและคุณพ่อคุณแม่ โดยในตัวมีเพียงแหวนรุ่นหัวสิงห์ของหลวงปู่ขวัญเท่านั้น หลังจากนั้นก็เก็บคองอเข่าตามหลักสูตรที่เรียนมา เมื่อตกมาถึงพื้นก็หมดสติไป" นางมาลัย กล่าว นางมาลัย ยังกล่าวอีกว่า เพื่อนทหารช่วยกันนำสามีส่งโรงพยาบาล โดยแพทย์บอกว่า ให้ทำใจ เพราะโอกาสที่รอดมีน้อยมาก หรือหากรอดชีวิตก็มิสิทธิเป็นคนปัญญาอ่อน เพราะสมองกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง แขนทั้งสองข้างหัก แต่หลังจากอยู่ในห้องไอซียูไม่ถึง 8 วัน สามีก็ฟื้น โดยอาการเหมือนคนไม่ได้เป็นอะไรเลย ซึ่งแพทย์ยังงง โดยเฉพาะแขนที่หักก่อนหน้านั้น เมื่อแพทย์จะผ่าตัดกลับพบว่า แขนไม่ได้เป็นอะไรเลย ทุกอย่างปกติเหมือนคนทั่วไป ทั้งนี้จากอุบัติเหตุดังกล่าวสามีนอนอยู่ในโรงพยาบาลเพียง 23 วันเท่านั้น นางมาลัย ยังเล่าอีกว่า หลังจากที่สามีหาย ได้สอบถามคนในครอบครัวจึงทราบว่า บิดาของตนไปขอร้องให้หลวงปู่ขวัญช่วย โดยเขียนชื่อที่อยู่จริงของโรงพยาบาลที่สามีนอนรักษา หลังจากนั้นจึงทราบว่าหลวงปู่ท่านได้นำชื่อมาเพ่งกระแสจิต จนทำให้อาการของสามีหายดีในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งข่าวดังกล่าวดังไปทั่วประเทศ โดยช่วงนั้นสามีของตนเองไปออกรายการทีวีหลายรายการ อย่างไรก็ตาม นับแต่นั้นมาตนและสามีจะไปเยี่ยมหลวงปู่ขวัญทุกอาทิตย์เป็นประจำตลอดมา และการจากไปของท่านคงไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นความรู้สึกได้ ขอขอบคุณที่มาจาก...ศิษย์หลวงปู่ขวัญ ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=14185 ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2018-01-19 10:49:40
รูปหล่อสมเด็จโต วัดระฆังฯ รุ่นอนุสรณ์ 118 ปี 2533 เนื้อทองแดงรมดำ สภาพสวยมาก
รูปหล่อสมเด็จโต วัดระฆังฯ รุ่นอนุสรณ์ 118 ปี 2533 เนื้อทองแดงรมดำ สภาพสวยมาก รายละเอียดรูปหล่อสมเด็จโต วัดระฆังฯ รุ่นอนุสรณ์ 118 ปี 2533 เนื้อทองแดงรมดำ สภาพสวยมาก ขนาดความกว้างฐาน 1.5 ซม. ความสูง 2.2 ซม.ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2017-12-22 09:53:27 |
บทความแนะนำ |